ที่มีผู้เสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน รวมถึงนักข่าวต่างประเทศ จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดกลางกรุง และยุติลงในวันที่ 19 พ.ค.ในปีเดียวกัน ด้วยตัวเลขของผู้เสียชีวิต 99 ราย บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
'ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่'
แสงเทียนและดอกกุหลาบสีแดงที่ถูกวางเรียงรายจากกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและกลุ่มประชาชนที่มาร่วมรำลึกในเหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ซึ่งในวันนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 27 ราย และบาดเจ็บนับพันคน หลังเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและผู้ร่วมชุมนุม จากคำสั่งของศอฉ. ในปฏิบัติการ 'ขอคืนพื้นที่'
ญาติผู้เสียชีวิตและประชาชนร่วมรำลึก 8 ปี 10 เมษายน 2553
ในวันนี้ญาติของผู้เสียชีวิตและประชาชน ราว 60 คน ได้เดินทางมาที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ที่ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน เยื้องกับ 'อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย' ที่ครั้งหนึ่งเมื่อ 8 ปี ที่แล้ว เป็นสมรภูมิที่พรากชีวิตบุคคลอันเป็นที่รักและเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของพวกเขา หลายคนได้ร่วมเดินเรียงแถวกันไปยังจุดต่างๆที่มีผู้เสียชีวิต พร้อมเสียงตะโกน 'ที่นี่มีคนตาย' ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งในและนอกเครื่องแบบประมาณ 50 นาย ก่อนสิ้นสุดที่บริเวณ 'สี่แยกคอกวัว' ที่เป็นเสมือนพื้นที่รำลึกการสลายการชุมนุม
พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาผู้เสียชีวิตในวันที่ 19 พ.ค.53
8 ปี คดียังไม่มีข้อสรุป
แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านมานานถึง 8 ปี แต่ในทางกลับกันเรื่อง 'กระบวนการยุติธรรม' ยังถูกตั้งคำถามอยู่เสมอ เมื่อคดียังไม่มีความคืบหน้า โดยในวันนี้ นายณัฐวัฒิ ใสยเกื้อ พร้อมด้วยแกนนำนปช. เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อทวงคืบหน้าในคดีด้วยการชูป้ายระบุข้อความ อาทิ 'มนุษย์จะยากดีมีจนทุกคนต้องได้ความยุติธรรม' 'หมาจรจัด เสือดำ หมีควาย ถูกฆ่าตาย ยังได้รับความยุติธรรม แต่เราเป็นคน' ขณะที่นายณัฐวุฒิแบกกระดาษที่ระบุข้อความ 'อยุติธรรม' เป็นสัญลักษณ์ในการแบกความอยุติธรรมในการต่อสู้ทางกฎหมายครั้งนี้
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พร้อมด้วยแกนนำนปช. แต่งชุดคนไร้ที่พึ่ง ทวงความคืบหน้าคดี
ซึ่งก่อนหน้าที่ทางแกนนำนปช. ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป.ป.ช. รื้อคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผู้อำนวยการ ศอฉ.ขณะนั้น เป็นผู้ต้องหา เพื่อรวบรวมสำนวนยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป หลังศาลชั้นต้น-ศาลอุทธรณ์-ศาลฎีกา ยืนยกฟ้องผู้ต้องหา เนื่องจากคดีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล
อ่านเพิ่มเติม