ไม่พบผลการค้นหา
คุณเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อไร ? นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นหลังประเทศไทย ว่างเว้นการเลือกตั้งมาเป็นเวลา 4 ปี หากนับจากวันเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เมื่อปี 2557 ถ้านับจากเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 จะกินเวลาห่างหายเลือกตั้งไปถึง 6 ปี

แม้เลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป เป็นการเลือกตั้งระดับชาติที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทย จะเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554 

แต่ถ้านับรวมการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เป็นโมฆะ เพราะมีการขัดขวางการเลือกตั้ง ก็จะถือเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งล่าสุด

ย้อนไปดูสถิติการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,220,208 คน หรือร้อยละ 75.03


เลือกตั้ง _X3A9807.jpg

ตามข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานจำนวนประชากรทั่วประเทศ ณ เดือน ธ.ค. 2560 มีจำนวน 66,188,503 คน 

เมื่อเปิด รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 95 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกตั้งได้ต้องมีอายุ 18 ปีในวันเลือกตั้ง

หากยึดจำนวนประชากร ณ ปีล่าสุด คือ 2560 จะพบว่า มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52,457,576 คน

ยิ่งนับตัวเลขเฉพาะจำนวนผู้ที่เพิ่งมีสิทธิเลือกตั้งในปี 2560 หรือเพิ่งมีอายุ 18 ปี จะมีจำนวน 836,459 คน

หากนับจากวันที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.แบบทางการครั้งสุดท้าย คือปี 2554

จะพบว่ามียอดคนอายุ 18 ปี ที่มีสิทธิเลือกตั้งจากปี 2555 - 2560 กำลังรอใช้สิทธิเลือกต้ังมีจำนวน 5,616,261 คน

ถ้านับเฉพาะอายุของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มาเข้ามาควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ 2557 -2560 จะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นคนรุ่นใหม่ ในช่วง 4 ปีที่ยังไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 3,688,118 คน

โปรดฟังอีกครั้ง ! 3.6 ล้านเสียงของวัยโจ๋ คือ ตัวเลขที่ยังไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส. ในยุค คสช. !


ประยุทธ์ 1200  eb Cover Template.jpg


โดยจำแนกในแต่ละปี ได้ดังนี้ ปี 2560 อายุ 18 ปี ไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 836,459 คน

ปี 2559 อายุ 18 ปี ไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส. 894,011 คน

ปี 2558 อายุ 18 ปี ยังไม่เคยไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง ส.ส. 968,202 คน

ปี 2557 อายุ 18 ปีแล้ว แต่ไม่เคยเข้าคูหาลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. 989,446 คน

ฐานเสียงของวัยโจ๋ อายุ 18 ปี 5.6 ล้านเสียง คือตัวเลขที่น่าสนใจ

5.6 ล้านเสียง ที่ยังไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส.นับแต่ปี 2555

หากนำร้อยละ 75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มาคิดเป็นจำนวนผู้ที่คาดว่าจะมาใช้สิทธิเลือกตั้ง หากมีการเลือกตั้งในวันนี้ ก็จะมีผู้มาใช้สิทธิ 39,343,182 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52,457,576 คน


เลือกตั้ง 5565  over Template.jpg

ถามว่า ยอดจำนวน 39 ล้านเสียงที่คาดว่าจะมาใช้สิทธิเลือกตั้งกันในอนาคตอันใกล้นี้จะคิดเป็นฐานเสียงต่อ 1 เก้าอี้ ส.ส.เท่าไร

เมื่อหารค่าเฉลี่ยแล้วของ 39 ล้านเสียงนี้แล้ว พบว่า 78,686 คน จะเท่ากับ 1 ส.ส.


รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี ส.ส.จำนวน 500 คน ดังนั้น ถ้าคิดจากยอดฐานเสียง วัยรุ่นวัย 18 ปีที่ยังไม่เคยเลือกตั้งนับแต่ปี 2555 ก็จะได้ยอด ส.ส. 71 ที่นั่ง ของจำนวนฐานเสียงอายุ 18 ปีที่ยังไม่เคยเลือกตั้ง 5,616,261 คน

ภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ที่กำหนดให้ ความเป็นได้ที่จะมีรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคการเมืองเดียว เป็นไปได้ยากมาก

ดังนั้น ฐานเสียงของวัยรุ่นที่เพิ่งใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกในอนาคตอันใกล้นี้ จึงเป็นตัวแปรสำคัญชี้ชะตาอนาคตประเทศไม่น้อย

5.6 ล้านเสียง เท่ากับ ที่นั่ง ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร 71 ที่นั่ง ย่อมเป็นตัวแปรชี้ขาดการจัดตั้งรัฐบาลไม่น้อย!

เลือกตั้ง เสียงคนรุ่นใหม่-01.jpg