ไม่พบผลการค้นหา
สำนักข่าวต่างประเทศ ชี้ กองทัพไทยมีนายพลที่ทำหน้าที่ไม่สอดคล้องกับตำแหน่งเป็นจำนวนมาก

บทความล่าสุดจาก 'นิกเคอิเอเชี่ยนรีวิว' ซึ่งอ้างอิงงานวิจัยในปี 2558 ของ สถาบันวิจัยสันติศึกษาแฟรงค์เฟิร์ต รายงานว่า ปัจจุบันไทยมีกำลังทหารประจำการอยู่ประมาณ 306,000 นาย และสำรองไว้อีก 245,000 นาย รวมเป็น 551,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 

รายงานยังชี้ว่า ในจำนวนทหารชั้นผู้น้อยทุกๆ 660 คน จะมีผู้บังคับบัญชาหรือนายพล 1 คน ขณะที่เมื่อเทียบกับกองทัพสหรัฐฯ จะมีนายพลเพียง 1 คน ต่อทหาร 1,600 คน อีกทั้งตัวเลขตำแหน่งนายพลของหสรัฐฯ ยังถูกกำหนดโดยรัฐสภา นอกจากนี้ ตำแหน่งพลเอกในกองทัพอังกฤษยังมีเหลือเพียง 6 คนเท่านั้นในปัจจุบัน

กองทัพ เหล่าทัพ พรพิพัฒน์ ชัยพฤกษ์ ลือชัย ผู้นำ อภิรัชต์ plate.jpg

ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติคนหนึ่ง ประเมินว่า ประเทศไทยน่าจะมีทหารในยศพลเอกที่ประจำการอยู่ประมาณ 150 - 200 คน และกล่าวว่า "สิ่งที่ทหาร 4 ดาวเหล่านี้ทำ จริงๆ แล้วให้ทหารยศพันเอกหรือยศต่ำกว่านั้นทำก็ยังได้"

ตำแหน่งยศและหน้าที่ที่ไม่สัมพันธ์กันของกองทัพไทยสะท้อนอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี 80 และช่วงปี 90 ที่กองทัพตะมะดอว์ของเมียนมามาเยือนไทยบ่อยครั้ง ซึ่งในการพบเจอกันกองทัพพม่าที่ยึดหลักปฏิบัติแบบกองทัพอังกฤษเรื่องความยากในการเลื่อนขั้นส่งเพียงทหารยศพันเอกหรือพันตรีมาพบทหารชั้นนายพลของไทย 

ทหารมีไว้ทำอะไร

ตามรัฐธรรมนูญ กองทัพไทยมีขึ้นมาเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ เอกราชและอธิปไตยของประเทศ เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนสุดท้ายของมาตราที่ 52 ในรัฐธรรมนูญยังระบุว่า "กำลังทหารให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย"

ทหาร ถ้ำหลวง หมูป่า A1453.jpg

ตามที่ระบุไว้ตอนท้ายของรัฐธรรมนูญ หน่วยพัฒนาทางการทหารของไทยจึงเข้ามามีบทบาทในหลายภาคส่วนที่หลายประเทศเลือกให้องค์กรพลเรือนเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น เกษตรกรรม ป่าไม้ การก่อสร้างในพื้นที่่ห่างไกล หรือแม้แต่การเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียน 

จึงทำให้เกิดคำถามว่า ปัจจุบันกองทัพในขนาดรวมครึ่งล้านคนปฏิบัติตามหน้าที่หลัก คือการปกป้องประเทศหรือไม่ เพราะไทยก็ไม่ได้มีศัตรูทางการทหารที่ไหนจะคอยจู่โจม

อ้างอิง; Nikkei Asian Review