ไม่พบผลการค้นหา
’เพื่อไทย’ ร่อนแถลงการณ์เรียกร้อง ‘ประยุทธ์’ สั่งตำรวจหยุดใช้กำลังความรุนแรงกับประชาชน เปิดเวทีรับฟังข้อเรียกร้องของม็อบหาทางออก หลังเกิดการชุมนุมประท้วงต่อเนื่องไม่พอใจการบริหารของ 'ประยุทธ์'

เมื่อเวลา 18.40 น. วันที่ 11 ส.ค. 2564 พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณขอให้ยยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมหลังมีการปะทะกันในบริเวณสนามเหลี่ยมดินแดง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในช่วงเย็นวันที่ 11 ส.ค. โดยระบุว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การชุมนุมประท้วงของประชาชนหลายครั้ง ตั้งแต่ปี2563 จนถึงวันนี้ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลโดยเฉพาะตัว ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชน ไปทุกหย่อมหญ้า ยิ่งในภาวะที่ประเทศประสบกับวิกฤติของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลล้มเหลวในการ แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอย่างสิ้นเชิง จนวันนี้มีประชาชนติดเชื้อเกือบแปดแสนคน เสียชีวิตเกือบหกพันคน ซึ่งอาจจะถึงหนึ่งหมื่นคนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ธุรกิจเลิกกิจการ ผู้คนตกงาน ประชาชนต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย ขณะเดียวกันกลับมีข่าวการทุจริตในการ จัดซื้อวัคซีนและการกระจายวัคซีน กรณีดังกล่าวยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนยิ่งขึ้น

แทนที่รัฐบาลจะรับฟังเสียงเรียกร้องดังกล่าวกลับสั่งการให้ ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมทุกครั้ง โดยไม่คํานึงถึงหลักสากลและความมีเมตตาธรรมต่อกัน ทั้งที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นเพียงลูกหลาน ที่แสดงออกเพื่อต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาประเทศให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ ตํารวจกลับมองเห็นประชาชนเป็นผู้ร้ายที่ต้องดําเนินการอย่างรุนแรงและเด็ดขาด

พรรคเพื่อไทยมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้อํานาจของรัฐบาลและการ ใช้กําลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ที่อาจนําไปสู่ความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤติการณ์ดังกล่าว พรรคจึงขอเรียกร้องไปยัง นายกรัฐมนตรี ขอให้รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อเรียกร้องของประชาชนและหาทางออก ด้วยการเปิดเวทีรับฟังความเห็นและข้อเสนอของผู้นําการเคลื่อนไหวกลุ่มต่างๆ แทนการใช้ความ รุนแรงและจับกุมดําเนินคดี เพื่อหาทางออกจากวิกฤติการณ์ของประเทศในขณะนี้ให้เป็นไปด้วย สันติ ในระหว่างนี้ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตํารวจยุติการปฏิบัติการ ที่รุนแรงต่อประชาชนโดยทันที และขอให้ผู้ชุมนุมได้ใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ โดยยึดสันติวิธีในการแสดงออก