ไม่พบผลการค้นหา
'กิตา โกปิเนธ' บอกใบ้ผ่านบล็อกโพสต์ของไอเอ็มเอฟ ชี้ประมาณการเดือน มิ.ย. จีดีพีอาจหดตัวต่ำลงอีก คนจนแบกผลกระทบหนักสุด

บทความชิ้นล่าสุด ตีพิมพ์เมื่อ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมาผ่านเว็บไซต์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ของ กิตา โกปิเนธ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัย ไอเอ็มเอฟ สะท้อนความกังวลอย่างชัดเจนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะหดตัวแย่กว่าประมาณการครั้งก่อน ซึ่งเธอเคยพูดว่าการล็อกดาวน์ครั้งนี้ "ย้ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่สมัยของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depressiom) และแย่กว่าวิกฤตการเงินไปมากแล้ว" พร้อมตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่จะติดลบถึงร้อยละ 3 

กิตา เขียนในบทความชิ้นใหม่มีใจความอธิบายผลกระทบจากมาตรการล็อกน์ดาวว่า

  • "ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นี่นับเป็นครั้งแรกที่เศรษฐกิจจากทั้งตลาดประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาจะเดินหน้าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2563 ประมาณการเศรษฐกิจโลกที่จะมาถึงของเดือน มิ.ย.น่าจะแสดงตัวเลขอัตราการเติบโตที่ติดลบเลวร้ายกว่าประมาณการก่อนหน้า วิกฤตนี้จะส่งผล กระทบอย่างหนักกับประชาชนกรที่ยากจนของโลก"

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาคอธิบายว่า 'การล็อกดาวน์อันยิ่งใหญ่' ครั้งนี้ ถูกแบ่งออกเป็นสามระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้นที่ประเทศต่างๆ เข้าสู่การล็อกดาวน์ ตามมาด้วยระยะการออกจากมาตรการล็อกดาวน์ และระยะที่พ้นการล็อกดาวน์ไปแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดการกลับมาของการะระบาดระลอกที่สองและหลายประเทศก็เผชิญหน้ากับคลื่นลูกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนี้อยู่ 

ไอเอ็มเอฟ - กิตา โกปิเนธ - รอยเตอร์ส
  • กิตา โกปิเนธ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัย ไอเอ็มเอฟ

ความแตกต่างที่เป็นความเสี่ยง

นอกจากระดับที่ยิ่งใหญ่อย่างที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน มาตรการปิดประเทศนี้ยังมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากวิกฤตเดิมๆ ที่เคยผ่านมา ได้แก่ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับภาคบริการซึ่งตามปกติแล้ว วิกฤตมักเกิดมาจากภาคการผลิตแล้วกระทบไปยังภาคการลงทุน แต่ภาคบริการมักจะลอยตัวเหนือปัญหาได้ตลอดมา 

ความแตกต่างกับสถานการณ์ปัจจุบันคือภาคบริการกลับได้รับผลกระทบหนักกว่าภาคการผลิต และไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็เผชิญปัญหานี้ เหมือนๆ กัน โดยกิตา ชี้ว่า ดูเหมือนจะมีแค่ สวีเดนและไต้หวัน เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบในภาคบริการไม่มากเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์แบบประเทศอื่นๆ 

ไช่อิงเหวิน - ไต้หวัน.jpg
  • ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน

นอกจากนี้ กิตา ระบุว่าระดับอุปสงค์ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะฟื้นตัวเร็วซึ่งผิดเพี้ยนไปจากวิกฤตครั้งก่อนที่ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งก่อนความต้องการเหล่านี้จะหันหัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มจะฟื้นตัวเร็ว แต่กลับมีความไม่แน่นอนอยู่มากว่าพฤติกรรมของประชาชนที่เปลี่ยนไป จะกระทบกับลักษณะการใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน อาทิ กรณีของประเทศจีนที่ออกจากมาตรการล็อกน์ดาวเร็วกว่าประเทศอื่น แต่ภาคบริการกลับยังไม่ฟื้นตัว 

ประเด็นที่สอง แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในฝั่งอาหารจะปรับตัวสูงขึ้น แต่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อกลับอ่อนตัวลดลงทั้งในตลาดประเทศพัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ แม้รัฐบาลในหลายประเทศจะอัดฉีดนโยบายบาซูก้าทั้งฝั่งการเงินและการคลังแต่อุปสงค์ภาพรวมยังคงบางเบาอยู่ เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวต่ำ โดยกิตาชี้ว่า ด้วยการคาดการณ์ตัวเลขการว่างงานที่จะยังทรงตัวสูงราวช่วงเวลาหนึ่ง ความเสี่ยงที่หลายประเทศจะเผชิญหน้ากับปัญหาอัตราเงินเฟ้อจึงดูมีน้อย 

สำหรับความแตกต่างของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในวิกฤตครั้งนี้กับครั้งก่อนๆ ยังเห็นได้ชัดเจนจากความแตกต่างของตลาดการเงินที่เข้มแข็งขึ้นสวนทางการเศรษฐกิจจริงที่อ่อนแอลง โดย กิตา ชี้ว่า ความแตกต่างนี้เป็นลางบอกเหตุถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของตลาดการเงินโลก 

โดย ผอ.ฝ่ายวิจัย ไอเอ็มเอฟ ปิดท้ายว่า กุญแจสำคัญที่จะออกจากการล็อกดาวน์อันยิ่งใฆญ่ครั้งนี้ยังคงขึ้นอยู่กับวิทยาการณ์ในวงการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;