ทำไมชาเขียวของญี่ปุ่นเองไม่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่ปลูกชาและบริโภคชาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
บริษัทผลิตชาเขียวในประเทศญี่ปุ่น มีความพยายามแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่า เครื่องดื่มของชาเขียวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพที่ดี แต่สูตรการปรุงรสชาติชาเขียวในญี่ปุ่นกลับไม่โดนใจคนในประเทศ ดังนั้น บริษัทผลิตชาเขียวในญี่ปุ่นจึงไม่เติบโตอย่างที่หลายๆ คนคิด
ในอดีตผู้ผลิตชาเขียวในญี่ปุ่น พยายามผลิตเครื่องดื่มชาเขียวโดยเพิ่มน้ำตาลให้เหมาะสมกับรสนิยมของท้องถิ่น โดยในปี 2549 บริษัทคิริน เบเวอเรจ ได้ออกชาเขียว นามาฉะ เติมน้ำตาล และในปี 2554 บริษัท ซันโตรี เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ก็ออกชาเขียวเติมน้ำตาลด้วยเช่นกัน แต่ไม่น่าเชื่อว่าชาเขียวทั้ง 2 แบรนด์ กลับมียอดขายไม่ดีนัก จนในที่สุดทั้งสองบริษัทต้องหยุดผลิตสินค้าในปี 2555
เมื่อผลิตชาเขียวขายในประเทศไม่ได้ ก็ต้องส่งออกไปยังประเทศอื่น ผู้ผลิตชาเขียวญี่ปุ่นบางรายตัดสินใจนำสินค้าไปจำหน่ายในตลาดเวียดนามและอินโดนีเซีย แม้จะกำหนดราคาไว้เท่าๆ กับผู้ผลิตในท้องถิ่น แต่ผลคือ ไม่ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย และครองส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้บริษัทชาเขียวญี่ปุ่น ต้องปั้นแบรนด์สินค้าไลน์อื่นขายในเวียดนามและอินโดนีเซียแทน บริษัท ซันโตรี จึงได้ออกสินค้าใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับชาเขียวเลย นั่นคือ อาหารเพื่อสุขภาพ โดยประยุกต์เอาเทคโนโลยีที่ใช้ในชาอู่หลงดำมาผลิต ขณะที่ บริษัท อาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ใช้วิธีร่วมทุนกับผู้ผลิตเครื่องดื่มท้องถิ่นในอินโดนีเซีย เตรียมแผนผลิตชา ,น้ำผลไม้ น้ำดื่ม และเครื่องดื่มอื่นๆ อย่างเต็มรูปแบบ
คำถาม คือ ทำไมชาเขียวของญี่ปุ่นเองไม่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่ปลูกชาและบริโภคชาเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเทียบเท่ากับจีน คำตอบคือ วัฒนธรรมหล่อหลอม
ในอดีต คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน เป็นศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้หญิงที่เป็นกุลสตรีต้องเรียนเป็นอาชีพติดตัว เพื่อยกระดับชีวิตของตัวเองในวัง อีกทั้งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน , ฤดูใบไม้ผลิ , ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูร้อน ซึ่งอากาศร้อนของญี่ปุ่น ถือว่าเย็นสบายสำหรับคนไทยซึ่งอยู่ที่ 10-20 องศา นอกนั้นอากาศจะเย็นสบายไปจนถึงหนาวติดลบ ดังนั้นวิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น นอกจากนี้ วัฒนธรรมการดื่มชาของญี่ปุ่นยังเน้นรสชาติของชา ความเข้ม ความฝาด และกลิ่นของชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ
นอกจากนี้ คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณนั่นเอง
ภาพ : www.flickr.com by apalapala