ดนตรีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเนิ่นนาน ในทุกชนชาติและภาษาวันนี้เราจะไปดูกันค่ะว่าแต่ละประเทศ แต่ละเชื้อชาติมีเครื่องดนตรีอะไรเด่นๆกันบ้าง
ทุกเชื้อชาติล้วนแล้วแต่มีท่วงทำนอง จังหวะ และดนตรีของตนเอง สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่าง นอกจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ฟูมฟักอัตลักษณ์ทางดนตรีของแต่ชาติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เครื่องดนตรี เพราะเพียงแค่ได้ฟังเสียง ก็ทำให้เรานึกถึงประเทศเหล่านั้นได้
Guitarเริ่มต้นกับเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ในราคาสบายๆ และสามารถหัดเล่นได้ด้วยตัวเองอย่าง กีต้าร์ guitar in latin america กีต้าร์ปรากฎในประวัติศาสตร์สเปนครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 ในรูปแบบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวละตินอเมริกา เช่นในสเปน, บราซิล และอาร์เจนติน่า Spanish - Guitar with Tango ด้วยเอกลักษณ์ของเสียงเพลงที่มีท่วงทำนองที่เร้าใจ ในแบบที่เครื่องดนตรีใดๆ ไม่สามารถให้ได้แบบที่กีต้าร์ทำได้ ทำให้กีต้าร์กลายเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นในแถบละตินอเมริกา เช่น แทงโก้ และฟลามิงโก้ไปโดยปริยาย และในปัจจุบันก็มีเครื่องดนตรีหลายชิ้นที่พัฒนามาจากกีต้าร์ แต่ก็ยังคงอยู่ซึ่งลักษณะที่คล้ายกีต้าร์ เช่น วิเวล่า (Vihuela) และ ควาโตร (Cuatro) เป็นต้น
Ukulele เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีต้าร์อีกชิ้นหนึ่ง ก็คือ อูคูเลเล่ เครื่องดนตรี4 สายที่มีขนาดเล็กคล้ายกีต้าร์ย่อส่วน ฟังแล้วทำให้เรานึกถึงบรรยากาศสบายๆ ชายทะเล ที่มีต้นมะพร้าว หาดทรายขาว และการเต้นรำที่สนุกสนาน แล้วก็เป็นเช่นนั้น เพราะอูคูเลเล่มีต้นกำเนิดในหมู่เกาะฮาวาย ได้รับอิทธิพลจากเครื่องดนตรีของชาวโปรตุเกสที่อพยพขึ้นมาบนเกาะในช่วงศตวรรษที่ 19 จากนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รวมถึงประเทศไทยเช่นกัน
ข้ามมาฝั่งเอเชียกันสู่ดินแดนแห่งพระพุทธเจ้า ประเทศอินเดีย เครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในชาวอินเดีย และเป็นที่รู้จักทั่วโลก คือ ซีตาร์ (Sitar) เสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของซีต้าร์เกิดจากสายทั้งหมด 7-20 สาย และมีลักษณะเด่นอยู่ที่เฟรต (Fret) ที่โค้งที่ยกขึ้นมาอย่างเด่นชัด ซีตาร์มีต้นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย สมัยราชวงโมกุล ช่วงศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 18 และคาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณของชาวเปอร์เซียที่มาเล่นในวัง แม้ว่าประเทศอินเดียจะเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ทุกคนจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อในการติดต่อกับพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถืออยู่ ทำให้เครื่องดนตรีหลายๆ ชนิดของอินเดียที่แม้จะมีอายุยาวนานก็ยังมีคนเรียนรู้ และสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน
ปิดท้ายด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงที่คุ้นหูเวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่นก็มักจะได้ยินเสียงเครื่องสายเปิดคลอเบาๆ เวลาฟังแล้วทำให้เกิดความสงบนิ่งอยู่ภายใน เสียงนั้นคือเสียงของ ชามิเซ็ง (shamisen) เครื่องดนตรีโบราณของญี่ปุ่น มี 3 สาย และต้องใช้แผ่นไม้ที่มีชื่อว่า บาฉิ ในการดีดให้เกิดเสียง ชามิเซ็งได้รับอิทธิพลจากเครื่องดนตรีจีน "ซังเง็น" ถูกรับเข้ามาในศตวรรษที่ 16 เข้าสู่อาณาจักรริวกิว หรือเกาะโอกินาว่าในปัจจุบัน ในอดีตชามิเซ็งมักจะใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงหลายๆ การแสดง เพราะคีย์ที่กว้าง ทำให้สามารถสื่ออารมณ์ได้หลากหลาย และแม้ว่าเวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 10 ศตวรรษ แต่ซามิเซ็งก็ยังไม่เลือนหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของแต่ละวัฒนธรรม แต่เมื่อสืบกลับไปดูต้นกำเนิดที่แท้จริง พบว่าล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลต่อทอดมาจากวัฒนธรรมอื่นๆ ดนตรีจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการลื่นไหลทางวัฒนธรรมของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือไกลเพียงใด ให้เชื่อมเข้าด้วยกันได้มาอย่างยาวนาน