ไม่พบผลการค้นหา
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจชายฝั่งทะเลระยองยาวกว่ากิโลฯ หลังพบเห็นแมงกะพรุนหลากสีรวมตัวหาอาหาร-ผสมพันธุ์ ย้ำแม้พิษไม่รุนแรงแต่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองได้ นักท่องเที่ยวจะไปถ่ายภาพให้ระมัดระวัง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจการแพร่กระจายของแมงกะพรุน บริเวณชายฝั่ง อ.แกลง และ อ.เมือง จ.ระยอง ตั้งแต่อ่าวมะขามป้อม แหลมแม่พิมพ์ หาดสวนสน บ้านเพ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า และหาดแม่รำพึง พบแมงกะพรุนถ้วย (Catostylus townsendi) จำนวนมาก บริเวณระหว่างท่าเรือระยองรีสอร์ท ถึงท่าเรือศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เป็นระยะทางขน��นชายฝั่งประมาณ 1.2 กม. ห่างจากฝั่งประมาณ 400 เมตร ความหนาแน่นประมาณ 10 ตัวต่อตารางเมตร

ทั้งนี้ แมงกะพรุนชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปตามชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มิ.ย. - ก.ย.) และมักพบรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากบริเวณพื้นที่ใกล้ชายฝั่งจากการถูกพัดพาโดยคลื่นลม 

ทั้งนี้ แมงกะพรุนชนิดนี้ มีพิษไม่รุนแรง เพียงแค่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองเท่านั้น

โดยนายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด เปิดเผยเมื่อ 29 มิ.ย. 2561 ว่า การปรากฎตัวของแมงกะพรุนหลากสีดังกล่าว เป็นการรวมตัวกันเพื่อหาอาหาร และผสมพันธุ์ตามธรรมชาติของแมงกะพรุนที่จะเลือกสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับอุณหภูมิพอเหมาะ และ ธรรมชาติของทะเลที่สมบูรณ์ โดยได้ย้ำกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาชมฝูงแมงกะพรุนว่าสามารถทำได้ แต่ไม่ควรสัมผัสโดนตัว