ไม่พบผลการค้นหา
เจาะลึกรายละเอียดแฟ้มข้อมูลที่รั่วไหลของ “โครงการเพกาซัส” พบผู้นำประเทศ-ผู้บุคคลสำคัญที่ทรงอิทธิพลหลายคน ตกเป็นหนึ่งเป้าหมายของการถูกจับตามองด้วยสปายแวร์นี้

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างออกมาเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ของสปายแวร์ตัวหนึ่ง “เพกาซัส” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทด้านเทคโนโลยีของอิสราเอล (NSO Group) ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะยืนกรานว่าซอฟต์แวร์ตัวนี้ถูกใช้เพื่อสอดส่องอาชญากรและผู้ก่อการร้ายเท่านั้น แต่ข้อมูลที่ถูกสืบค้นออกมาปรากฏว่าร่องรอยของเพกาซัสถูกโยงใยไปเกือบทั่วโลก และเป้าหมายกว่า 50,000 รายชื่อที่หลุดออกมาก็ไม่ได้มีแค่ผู้ก่อการร้ายเท่านั้น

'เพกาซัส' สามารถเจาะทะลุทะลวงทุกข้อมูลของเหยื่อที่ถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือ (ทั้งระบบปฏอบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส) นั่นแปลว่าทุกข้อมูลสำคัญเช่น ข้อความสนทนา รูปภาพ และอีเมล ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ หรือความลับระดับสุดยอดแม้จะถูกใส่รหัสไว้อย่างดีแต่เพกาซัสก็สามารถสะกดรอยเพื่อปลดล็อครหัสได้ นอกจากนั้นยังสามารถขโมยข้อมูลส่งออกไปภายนอกได้อีกด้วย บรรดาผู้ที่อยู่ในรายชื่อของข้อมูลที่รั่วไหลออกมาต่างวิตกกังวลกับการทุกสอดแนมในครั้งนี้ แม้จะยังไม่มีการยืนยันว่าได้รับความเสียหายจริงหรือไม่

จากรายงานของเดอะการ์เดียน ระบุว่ามีผู้นำรัฐบาล ประมุขแห่งรัฐ หรือผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงต่างๆ ของโลกนับสิบคนที่ปรากฏอยู่ในชุดข้อมูลที่เปิดเผยได้ในขณะนี้  

มาครง ฝรั่งเศส สอดแนม สปายแวร์

1.เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำโลกที่ถูกรัฐบาลโมร็อกโกใช้สปายแวร์นี้ สอดแนมในปี 2562 โดยเจ้าหน้าที่ของทำเนียบประธานธิบดี( Élysée ) กล่าวว่า “หากสิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง แสดงว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก” นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสอีกหลายสิบคนยังมีรายชื่อปรกฎว่าได้รับการจับตามองอยู่เช่นกัน

2.ประธานาธิบดีไซริล รามาโฟซา (Cyril Ramaphosa) ของแอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกรัฐบาลรวันดาสอดแนมในปี 2562

3.เทโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก ถูกสอดแนมโดยรัฐบาลโมร็อกโกในปี 2562

4.ซาอัด ฮารีรี (Saad Hariri) อดีตนายกรัฐมนตรีของเลบานอน ที่พึ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้รับเลือกเป็นบุคคลที่ถูกจับตามองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปี 2561 และ 2562

5.ชาร์ล อีฟว์ ฌ็อง กีแลน มีแชล ( Charles Michel) อดีตนายกรัฐมนตรีเบลเยียมระหว่างปี 2557 - 2562  ซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะมนตรียุโรป เป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกสอดแนมจากโมร็อกโกในปี 2562 ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเบลเยียม

6.กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งโมร็อกโก ได้รับเลือกให้เป็นบุคคลที่น่าสนใจจากฝ่ายความมั่นคงของโมร็อกโก ในปี 2562

7. ซาดอะดีน ออตมานิ (Saadeddine Othmani) นายกรัฐมนตรีของโมร็อกโก ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นบุคคลที่น่าสนใจในปี 2561 -2562 โดยถูกจับตามองของฝ่ายความมั่นคงของประเทศตนเอง

8.อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานซึ่งถูกเลือกให้เป็นบุคคลที่ถูกสอดแนมจากอินเดียในปี 2562

9.เฟลิเป กัลเดรอน (Felipe Calderón) อดีตประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกจับตามองโดย “เอกชนชาวเม็กซิกัน” ในปี 2559 – 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่ภรรยาของเขา มาการ์ริต้า ซาวาลา (Margarita Zavala) ลงสมัครรับตำแหน่งทางการเมืองแถวหน้าของประเทศ

10. โรเบิร์ต มัลเลย์  (Robert Malley)  นักการทูตชาวอเมริกันที่รู้จักกันในนามหัวหน้าทีมผู้เจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน เป็นอีกบุคคลที่ถูกจับตาโดยรัฐบาลโมร็อกโกในปี 2562 เช่นเดียวกัน

11.มุสตาฟา มาดโบลี (Mostafa Madbouly) นายกรัฐมนตรีของอียิปต์ ที่ถูกจับตามองโดยรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากอียิปต์อีกหลายคนที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในแฟ้มข้อมูลที่เล็ดรอดออกมา

12. บัรฮัม ศอเลียะห์ ( Barham Salih ) ประธานาธิบดีอิรัก ที่ค่อนข้างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ถูกเลือกเป็นที่จับตาโดยซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

13.พาเวลล์ ดูรอฟ ( Pavel Durov ) มหาเศรษฐีด้านเทคโนโลยีชาวรัสเซียผู้ก่อตั้ง Telegram แอพลิเคชั่นที่แฮ็คยากที่สุดในโลก ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกจับตาหน่วยงานหลายชาติ

อิสราเอล ไซเบอร์ ารกรรมทางไซเบอร์ เพกาซัส

อย่างไรก็ตาม NSO Group เอกชนสัญชาติอิสราเอล ผู้พัฒนาสปายแวร์นี้ ยังคงยืนยันว่านี่เป็นการคาดการณ์ที่ผิดและไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซอฟต์แวร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น ไม่สามารถเจาะเข้าระบบอย่างที่หวาดกลัวกันได้ โดยเฉพาะหมายเลขของสหรัฐเอมริกา หรือของบรรดานักการทูตดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการพยายามติดตั้งสปายแวร์บนโทรศัพท์ของพวกเขาหรือไม่ และยังได้กล่าวเสริมว่า รายชื่อที่รั่วไหลออกมา “ไม่ใช่เป้าหมายหรือเป้าหมายที่เป็นไปได้ของลูกค้าของ NSO” รายชื่อทั้ง 50,000 นั้นเป็นเรื่อง “เกินจริง” และรายชื่อดังกล่าวไม่สามารถเป็นรายชื่อของตัวเลขที่ กำหนดเป้าหมายโดยรัฐบาลที่ใช้เพกาซัสได้ เพราะ “มันเป็นไปไม่ได้ทางเทคนิค”

 ชาเลฟ ฮูลิโอ (Shalev Hulio) ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารของ NSO Group กล่าวโต้แย้งข้อมูลที่รั่วไหลออกมาว่า “มีความเกี่ยวข้องกับ NSO จริง และทางบริษัทกังวลมากว่าลูกค้าอาจจะนำระบบไปใช้ในทางที่ผิด ” โดยทางบริษัทจะดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด

นอกจากนั้นบรรดาชาติที่ถูกเชื่อว่าเป็น “ลูกค้า” ที่ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ต่างออกมาปฏิเสธถึงความเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ของรวันดาปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของ NSO Group แม้เคยถูกสงสัยว่าเป็นลูกค้าของบริษัทนี้มานานมากแล้ว ทางด้านโมร็อกโกได้ปฏิเสธว่าทางการไม่เคยมีการสอดแนมผู้นำต่างชาติใดๆ และได้กล่าวว่านักข่าวที่สอบสวน NSO นั้น “ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า (ประเทศมี) ความสัมพันธ์ใดๆ” กับ NSO Group เช่นเดียวกับฮังการี อินเดีย และปากีสถานต่างปฏิเสธว่าทางการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ในครั้งนี้ แต่จากรายงาน ยังพบร่องรอยหลักฐานบรรดาประเทศที่นำเพกาซัสไปใช้อีกหลายประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน เม็กซิโก รวันดา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: