นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พัฒนายาชนิดใหม่ ที่สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิปโปไซต์แบบเรื้อรัง ซึ่งให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม ที่มาของการพัฒนา และผลการทดสอบตัวยาใหม่นี้จะเป็นอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พัฒนายาชนิดใหม่ ที่สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิปโปไซต์แบบเรื้อรัง ซึ่งให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม ที่มาของการพัฒนา และผลการทดสอบตัวยาใหม่นี้จะเป็นอย่างไร
มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิปโปไซต์แบบเรื้อรัง หรือซีแอลแอล เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย อีกชนิดหนึ่งที่พบมากที่สุด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของลิมโปไซต์บีเซลล์ และมักเป็นกันมากในกลุ่มผู้ชายสูงอายุ โดยจะพบเซลล์มะเร็งที่ว่านี้ในไขกระดูกและเลือด ซึ่งที่ผ่านมา จะใช้การรักษาด้วยการใช้สารเคมีเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง แต่ก็ให้ผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
นักวิจัยจากสถาบันมะเร็งของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ประเทศสหรัฐฯ จึงได้ทำการพัฒนายาชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า อิบลูทินิบ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งซีแอลแอล โดยงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ ซึ่งระบุว่า ยาชนิดนี้ให้ความสามารถที่กว้างกว่าการรักษาด้วยสารเคมี หรือคีโม โดยมันจะเข้าไปถึงตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้นานขึ้น และยาตัวนี้กำลังอยู่ในการทดสอบต่อต้านเนื้องอกที่พุ่งเป้าไปที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การพัฒนายาตัวนี้ เริ่มต้นจากการนำยาไปทดสอบกับหนูในห้องทดลอง ปรากฏว่า สามารถหยุดยั้งการกระจายตัวของเซลล์เนื้องอกได้ จึงนำไปทดสอบกับผู้ป่วยโรคมะเร็งซีแอลแอล จำนวน 85 คน ผลที่ได้นั้น มีเพียง 2 คนที่มีการเยียวยาต้านมะเร็ง ขณะที่บางคนกลับมีการกลายพันธุ์จนทำให้เซลล์มะเร็งซีแอลแอลลุกลามมากขึ้น และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
จนกระทั่งเมื่อการทดสอบสิ้นสุดลง ผลปรากฏว่า มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการทดสอบราวร้อยละ 83 ยังคงมีชีวิตอยู่ แต่ก็มีอาการข้างเคียงอย่างท้องร่วงหรือเหนื่อยล้า
ด้านดร.จอห์น ไบร์ด นักวิจัยในกลุ่มกล่าวว่า นับเป็นความก้าวหน้าอย่างแท้จริงของการรักษาโรคมะเร็งซีแอลแอล ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่เคยมียาชนิดนี้เข้ามาในการศึกษา โดยเขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มันเป็นสิ่งธรรมดาที่ได้ยินจากผู้ป่วยว่ายาตัวนี้สามารถทำให้มะเร็งถูกควบคุม และพวกเขารู้สึกอย่างไร ซึ่งยาตัวนี้ได้ทำให้พวกเขามีความสุขกับการใช้ชีวิตที่ยาวนานขึ้น ดีกว่าการรักษาด้วยการทำคีโม
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่า มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของโรคมะเร็งซีแอลแอล จากการกลายพันธุ์อันเนื่องมาจากยาอิบลูทินิบ แต่นั้น ถือว่าเป็นคำแนะนำสำหรับการพัฒนา เพื่อรักษาโรคมะเร็งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ด้านองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯหรือเอฟดีเอ ก็ยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ก้าวหน้า ขณะที่บริษัทที่ร่วมการพัฒนายาตัวนี้ก็กำลังพยายามขอขึ้นทะเบียนเป็นยาตัวใหม่กับเอฟดีเอ เพื่อให้ยาอิบลูทินิบ ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ภายในปี 2557