ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาคอีสาน เรียกร้องให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ในการจัดตั้งบริษัทโรงงานน้ำตาล ในพื้นที่จ.ศรีสะเกษ เนื่องจากไม่มีการสื่อสารและให้ชุดข้อมูลกับประชาชนไม่ถี่ถ้วน

นายสิริศักดิ์ สะดวก ผู้ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน จี้ผู้ว่าศรีสะเกษ จากการติดตามสถานการณ์โรงงานน้ำตาลขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 40 เมกะวัตต์ พื้นที่ อ.ขุญหาญ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เบื้องต้นทางบริษัทมีกระบวนการในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ และการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ร่างข้อเสนอโครงการ รายละเอียดโครงการ ขอบเขตการศึกษา และการประเมินทางเลือกโครงการ โครงการโรงงานผลิตน้ำตาล เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ณ หอประชุมเทศบาลตำบลสำโรงพลัน ตำบลสำโรงพลัน 

ซึ่งทางกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิด จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย บ้านตาจวน บ้านชำแระ บ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง และบ้านโคกพยอม ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ แต่ชาวบ้านในพื้นที่รอบรัศมี 5 กิโลเมตรต่างลุกขึ้นมาคัดค้านการจัดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการโรงงานผลิตน้ำตาลบริษัทดังกล่าว และโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล หลังชาวบ้านไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงมาก่อนเลย จึงตั้งข้อสังเกตดังนี้

1.สถานที่ตั้งโรงงานไม่เหมาะสม เนื่องจากอยู่ใกล้กับชุมชนซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน พื้นที่เกษตรอินทรีย์ และทรัพยากรที่ชุมชนได้พึ่งพา

2.ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาก่อน ซึ่งผมมองว่าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านนำไปประกอบการตัดสินใจด้วย

​ซึ่งพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษจริงๆ แล้วเป็นพื้นที่การเกษตรการทำนา และพื้นที่สวน เช่น การทำสวนทุเรียน เงาะ และยางพารา เป็นต้น แต่ตามแผนพบว่าพื้นที่ศรีสะเกษจะมีโรงงานอุตสาหกรรม 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ขอบเขตอำเภอขุญหาญ อำเภอไพรบึง อำเภอขุขันธ์ พื้นที่อำเภอกันทรลักษณ์ และพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ ตามแผนที่จะมีการสร้างโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล ดังนั้นผมมองว่า จังหวัดควรมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินยุทธศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม (SEA) 

โดยให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่ให้ชัดเจน เพราะว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนในพื้นที่ รัฐไม่ควรที่จะละเลยต่อกระบวนการที่พี่น้องที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ ปกป้องชุมชน ปกป้องททรัพยากร เพราะชาวบ้านในพื้นที่ต่างกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่วันนี้ทราบข่าวว่าผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษจะลงพื้นที่ แต่ทางกลุ่มจะไม่ยื่นหนังสือ ทางกลุ่มพร้อมที่จะไปยื่นหนังสือที่จังหวัดเพื่อขอเปิดโต๊ะพูดคุยกับผู้ว่าฯ