สุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ว่า ประเด็นที่ยังติดใจอยู่นั้นเป็นในส่วนของบรรยากาศ และหลักการ และเจตนารายละเอียด ซึ่งงวดนี้เป็นการพิจารณาในญัตติดังกล่าว บรรยากาศเป็นเหมือนไก่ใกล้ตรุษจีนไม่รู้จะถูกเฉือดหรือไม่ แต่ฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่ให้เต็มที่แสดงเหตุผลอย่างเต็มที่ส่วนเจตนาก็ยังอ่านเจตนาของรัฐบาลและส.ว.ไม่ออก แต่เชื่อว่าจริงๆแล้ว รัฐบาลคงอยากแก้ไขรายมาตรา หากแก้ไขรายมาตรา ส.ส.ร.คงไม่ใช่เป้าหมายของรัฐบาล
ส่วนในรายละเอียด มีหลายเรื่องที่ติดใจ อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระแรก ร่างของรัฐบาลใช้เสียง 3 ใน 5 ที่ใช้เสียงแค่ 450 คน ซึ่งในส่วนของฝ่ายค้านใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถแก้ได้แต่ คือ 375 เสียงเมื่อเข้าไปถึงชั้นกรรมาธิการกลับไปกันใหญ่ โดยให้ ใช้เสียง 2 ใน3 ซึ่งร้องได้เสียง 500 เสียง เริ่มต้นดูเหมือนง่ายแต่กลับยากขึ้น ซึ่งต้องดูเจตนากันต่อไป
และยังมีอีกเจตนาหนึ่งที่ต้องขอความชัดเจน ในส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ที่มีการตกลงว่าให้ใช้เลือกตั้งทั้งหมด โดยฝ่ายค้านเสนอว่าให้เลือกเป็นเขตจังหวัด แต่ฝ่ายรัฐบาลให้เลือกเป็นเขตย่อย ซึ่งมองว่าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องถกแถลงมากพอสมควร
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าวาระที่ 3 จะเข้าสู่สภาในวันที่ 17-18 มี.ค.นี้ และไม่ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าศาลรัฐธรรมนูญยังไม่วินิจฉัยก็เดินต่อไปตามปกติ แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ไปในทางลบ ก็ต้องจบทันที
ด้าน วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้านไม่สบายใจต่อบรรยากาศการแก้รัฐธรรมนูญหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องให้วินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของอำนาจรัฐสภาในการตั้ง ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า วันนี้ตราบใดที่ยังไม่มีคำตัดสินออกมาจากศาลรัฐธรรมนูญ การพิจารณาของรัฐสภาจะยังคงเดินหน้าต่อเนื่องตามกรอบที่ประธานรัฐสภาบอกไว้ว่าได้ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์
ซึ่งหมายถึงหลังจากการโหวตวาระ 2 แล้วเสร็จ และจากนั้นอย่างน้อย 15 วันก็จะเป็นการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาในวาระที่ 3 โดยยืนยันว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถที่จะไปทำให้ กระบวนการช้าหรือเร็วกว่านั้นได้ แม้ฝ่ายค้านจะติงว่าบรรยากาศไม่ดีก็ต้องเดินหน้าต่อไป
วิรัช ยืนยันในขณะนี้ขีดเส้นไว้เลยว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่คิดถึงการแก้รายมาตรา ยืนยันยังมุ่งมั่นตั้งใจตั้ง ส.ส.ร. 200 ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และหลังจากที่ศาลจะชี้มาในแนวทางใดค่อยว่ากันอีกครั้งหนึ่ง และจะทำให้ดีที่สุด
แต่หากศาลชี้ออกมาว่าไม่สามารถที่จะตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างฉบับใหม่ได้ รัฐบาลก็พร้อมที่จะปรึกษาหารือกับประธานวิปฝ่ายค้านก็เดินหน้าต่อ เพราะไม่ควรที่จะทำเพียงรัฐบาลเท่านั้นแต่ต้องทำร่วมกันระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภา หรือวิปราวม 3 ฝ่าย หารือว่าอะไรควรแก้ไขหรืออะไรไม่ควรแก้ไข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :