วันที่ 11 พ.ค. 2565 ที่สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ส.ก. พ.ศ. 2565 จากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 1,038 คน เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 702 คน และเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลิอกตั้ง 336 คน
โดย ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า จากการสำรวจ พบว่า ประเด็นสำคัญ คือ ความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. และ ส.ก. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ความตื่นตัวและการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง รวมทั้งปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกผู้สมัคร และการเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่มีความสนใจในประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. และ ส.ก. โดยความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก. พ.ศ.2565 พบว่า ประชาชนไม่ทราบจำนวนบัตรเลือกตั้ง วันที่ 22 พ.ค. ถึง 30.1% รองลงมาคือ ไม่ทราบระยะเวลาการลงคะแนนเสียง 51.3%ไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม. 36.2% ไม่ทราบบทบาทของส.ก. 35.5% และสุดท้ายคือ ไม่ทราบจำนวนของส.ก. 58.0%
สำหรับผลการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เรียงตามลำดับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ดังนี้ อันดับ 1 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 42.4% อันดับ 2 ยังไม่ได้ตัดสินใจ 18.2% ส่วนสำคัญในการก่อให้เกิด Swing Vote ส่วนมากเป็นกลุ่มอายุ 46-65 ปี อดีตข้าราชการ หรือผู้เกษียณอายุ อันดับ 3 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 12.0% อันดับ 4 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 6.7%
อันดับ 5 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 5.7% สกลธี ภัททิยะกุล 5.7% อันดับ 7 รสนา โตสิตระกูล 2.7%
สำหรับความเห็นของผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งนั้น ซึ่งได้ถามในประเด็นหากท่านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดว่าจะเลือกผู้สมัครรายใด ผลปรากฏว่า อันดับ 1 ยังเป็น ชัชชาติ 52.9% อันดับ 2 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 10.8% อันดับ 3 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 10.5% อันดับ 4 ยังไม่ตัดสิน 7.5% อันดับ 5 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 6%
รองลงมาเป็น ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4.8% สกลธี ภัททิยกุล 3% รสนา โตสิตระกูล 3% น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย 1.2% ดร.ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ 0.3%
ปัจจัยในการเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. นโยบายของผู้สมัคร 62.3% ประสบการณ์การทำงานของผู้สมัคร 48.9% พูดจริง ทำจริง จริงใจ ในการแก้ปัญหา 29.9%
ประเด็นที่อยากให้ผู้ว่าฯกทม. ดำเนินการ การขนส่งสาธารณะและการจราจร 66.4% การจัดการสิ่งแวดล้อม/ความสะอาด/พื้นที่สีเขียว 64.2% ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 52.5% น้ำท่วมขัง 45.5% และ ระบบสาธารณสุข/สุขอนามัย 41.7%
ความเชื่อมั่นในการจัดการเลือกตั้ง พบว่า เชื่อว่าจะมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง 71.9% รองลงมาคือ เชื่อว่า กกต. จะสามารถจัดการการเลือกตั้งได้อย่างโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรม 49.1%
ความตระหนัก ความสนใจ ความตั้งใจไปเลือกตั้ง พบว่า ไปเลือกตั้งในวันที่ 22 พ.ค.2565 แน่นอน 93.6% รองลงมา คือ ระบุชื่อผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ได้อย่างน้อย 5 คน 82.5% และทราบว่าคูหาเลือกตั้งอยู่ที่ใด 85.2%