สภาปฏิรูปโยนหินถามทาง ทำให้เกิดคำถามว่า ควรหรือไม่ควรขยายอายุข้าราชการเกษียณไปถึง 63 ปี อ้างกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย หรือแค่ข้ออ้างลากอยู่ในตำแหน่งยาว
หลังจากที่นพ.อำพล จินดาวัฒนะ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคมและโฆษกกรรมการ แถลงข่าวหลังการประชุม โดยการปฏิรูปเพื่อปลดล็อก การขยายอายุราชการให้ไปเกษียณจากเดิม60ปี เป็น 63ปีโดยเสนอให้ขยายอายุการเกษียณราชการเป็น 63 ปี โดยขยายเป็นขั้นบันได เช่นปี 2562 ขยายการเกษียณเป็น 61 ปี จากนั้นปี 2564 จึงขยายเป็น 62 ปี โดยกรอบเวลาทั้งหมดคือ 6 ปี ยอมรับว่าได้มีการพูดคุยกับกลุ่มข้าราชการไปบ้างแล้ว แต่การขยายดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมข้าราชการฝ่ายความมั่นคง
ทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมของแนวคิดดังกล่าวว่า เป็นการช่วยชาติในภาวะสังคมสูงวัย การปิดกั้นโอกาสคนรุ่นใหม่เพราะสืบทอดอำนาจ หรือการที่ทำให้ประชาชนต้องเอาภาระภาษีไปอุดหนุนข้าราชการที่อยู่มานานเงินเดือนสูงแต่ประสิทธิภาพน้อยกันแน่?
ข้าราชการสูงวัยต้องอยู่แบบ "คลังสมอง" ไม่ใช่อยู่ต่อไปเฉยๆ
ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีพูดคุยกับ ผศ.ดร.อติพร เกิดเรือง ผู้อำนวยการสถาบันรั
อติพร กล่าวถึงหลักเกณฑ์ที่ควรจะมีก็คือต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มีสามารถไม่ใช่เป็นการเปิดให้ต่ออายุได้ทุกคน อาจจะเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลน เช่นสายงานเฉพาะ งานวิจัย หรืองานที่ปรึกษา และเป็นไปด้วยความสมัครใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย ส่วนเรื่องปัญหาที่กังวลว่าจะเป็นการไปกันที่คนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาทำงานราชการนั้น อยากให้แยกอัตราในส่วนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการต่ออายุเกษียณ ออกจากอัตราการรับเข้าใหม่เพื่อทดแทนจะดีกว่า
เรื่องการต่ออายุข้าราชการไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องภายในที่ทำเป็นปกติเพียงแต่ครั้งนี้มีการจุดประเด็นออกมาในสังคมเท่านั้น อติพร กล่าวว่าโดยเฉพาะสายงานข้าราชการวิชาการนั้น ยิ่งอายุมากยิ่งมีประสบการณ์ที่มีค่า ซึ่งกว่าจะได้ตำแหน่งวิชาการระดับสูงก็อายุมาก ถ้าหากได้ต่ออายุก็จะสามารถสอนนักศึกษาได้มากขึ้น บางท่านก็สามารถสอนได้ในหลายสถาบัน
เมื่อถามว่าตัวแนวคิดนโยบายดังกล่าวเป็นการซื้อใจกลุ่มข้าราชการที่เป็นฐานอำนาจของ รัฐบาล คสช.หรือไม่? อติพรกล่าวว่า ก็มีส่วนเช่นกัน แต่อยากให้มองถึงภาพใหญ่ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เชื่อว่าถ้าหากได้คัดกรองบุคลากรที่มีความสามารถก็คุ้มค่ากับการจ้างงานต่อ ซึ่งไม่ใช่แค่ภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชน และภาควิชาการก็ควรตระหนักถึงสังคมสูงวัยที่กำลังจะมาถึงไทยในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าด้วย
ภาพลักษณ์ของอาชีพข้าราชการสำหรับคนรุ่นใหม่นั้น อติพรกล่าวถึงประสบการณ์การสอนพบว่านักศึกษารุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับงานราชการน้อยลง เพราะต้องการทำอาชีพอิสระ ภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการ แต่ตอนนี้อาชีพข้าราชการก็จะให้ด้านความมั่นคงและสวัสดิการได้มากขึ้น และเงินเดือนตอนนี้หลังจากมีการปรับฐานเงินเดือนเป็น 15,000 บาท ก็ทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้น แต่ส่วนมากหากทำไม่ถึง 20 ปีก็อาจจะได้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า