ไม่พบผลการค้นหา
'ประยุทธ์' ชี้อากาศโลกเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล การสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของการเรียนรู้ที่อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับน้ำ จะทำอย่างไร ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และการบริหารจัดการน้ำ

'ประยุทธ์' ชี้อากาศโลกเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล การสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของการเรียนรู้ที่อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับน้ำ จะทำอย่างไร ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และการบริหารจัดการน้ำ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตอนหนึ่งว่าเรื่องการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เราจะต้องเข้าใจ สามารถจะเข้าใจถึงธรรมชาติของน้ำ เราสามารถจะแยกเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้คือ ภาคเหนือ ภาคกลางที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยแม่น้ำปิง– วัง – ยม – น่าน ไหลรวมกันมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา พูดง่าย ๆ ก็คือ ลุ่มแม่น้ำยม ลุ่มแม่น้ำน่าน ด้านบนนะครับ ลงมาสู่ภาคกลาง ก็เป็นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเรามีแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน ซี่งจะช่วยแบ่งมวลน้ำบางส่วนจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล ถ้าหากไม่สามารถบริหารตั้งแต่ข้างบนลงมา แล้วก็ตรงกลางนี้ด้วย บริหารจัดการไม่ได้ดี ย่อมส่งผลกระทบ เพราะว่าน้ำสะสมเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต สำหรับภาคอีสาน และภาคใต้ ก็เช่นกัน  ภาคอีสานก็จะมีลุ่มแม่น้ำชี ลุ่มแม่น้ำมูล  ซึ่งเราต้องศึกษาละเอียด เพราะว่าคนละส่วนกัน แต่ไหลลงมาที่ต่ำทั้งสิ้น ก็เกิดผลกระทบกับผู้ที่อยู่ใกล้แนวลำน้ำ แนวแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน จากนั้นไปก็เป็นเรื่องของภาคใต้ เพราะว่าฝนจะเลื่อนจากข้างบน ไปข้างล่าง ในช่วงนี้ฝนจะตกหนักในช่วงภาคใต้ เราจะต้องมีระบบการบริหารจัดการน้ำ ที่แยกเป็นส่วน ๆ แล้วจะทำอย่างไร ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ แล้วไหลรวมกัน แล้วจะบริการอย่างไร จะหน่วงน้ำ ชะลอน้ำ ระบายน้ำได้อย่างไร ที่จะเกิดความสมดุลกัน ให้เกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด  ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบไว้แล้ว ในภาพรวมทั้งประเทศ ความแตกต่างก็คือว่าเรามีการปรับปรุง สอดคล้องตลอดเวลา กับสถานการณ์ เราทำแผนงานขนาดใหญ่ ถึง 2565 หรือ 68  ที่เราทำมาตั้งแต่ 2557  เราก็ปรับเอาตรงช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3 มาทำช่วงที่ 1 บ้าง เพราะในช่วงที่ผ่านมาก็มีปัญหาในเรื่องของภัยแล้งใช่หรือไม่ บางอย่างก็ต้องปรับ บางอย่างก็ต้องเพิ่ม เพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายความว่า ทำแผนครั้งเดียว แล้วก็วางระยะยาวไป แล้วก็ทำให้ครบตรงนั้นคงไม่ได้ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สภาวะอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ฝนตกมากกว่าที่ควรจะตก เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้เตือนเรามาตลอดเวลา 

เพราะฉะนั้น การสร้างความเข้าใจตรงนี้ เป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของการเรียนรู้ที่อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับน้ำ จะทำอย่างไร ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง แล้วก็การบริหารจัดการน้ำ คืออะไร พวกเราหลายคนก็มีความลำบากมากขึ้น เพราะหลายคนอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องไปดูในเรื่องของที่อยู่อาศัย ในเรื่องของผังเมือง ซึ่งก็เดือดร้อนทุกคน ทุกคนก็ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่เราก็ต้องพยายามหาวิธีการ รัฐบาลก็ไม่เคยหยุดคิดตรงนี้ ขอให้เข้าใจด้วย อันนี้ทำก่อน อันนี้ทำหลัง เอาอันหลังมาทำก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณา จากข้อมูลที่เรามีอยู่ แล้วก็สอดคล้องกับความเร่งด่วนของปัญหา หาแนวทางใหม่ ๆ  วันนี้เราก็ศึกษามาแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จเรียบร้อย 100%  เพราะต้องผ่านขั้นตอนอีกมากมายในเรื่องของการเยียวยา แผนการเยียวยา งบประมาณ

ในเรื่องของการทำแนวทางศึกษาแนวทางขุดคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เช่นเราก็มีการศึกษา การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายน้ำหลากบริเวณ บางบาล และ บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยาระยะทาง 22 กิโลเมตร ตามแนวทางพระราชดำรินะครับ เช่น “คลองลัดโพธิ์” จ.สมุทรปราการ และ การขุดคลองส่งน้ำป่าสัก– อ่าวไทย ต่อเนื่องมาจากคลองชัยนาท–ป่าสัก ระยะทางประมาณ 135 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเลอีกช่องทางหนึ่งนะครับ ก็ต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่มีที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่อยู่อาศัยที่จะต้องอยู่ในแนวทางการขุดคลอง จะต้องมีคนที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็พยายามดูแลอย่างดีที่สุด วางแผนการใช้งบประมาณ ศึกษาความคุ้มค่า ศึกษาผลกระทบ ศึกษาทำ EIA EHIA  มีอีกหลายขั้นตอนด้วยกัน เพราะฉะนั้นเวลาเราก็ทำมาโดยตลอด เพราะว่าเราต้องฟังเสียงพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นก็มีส่วนหนึ่งได้รับความเดือดร้อน ส่วนหนึ่งไม่เดือดร้อน ก็ต้องหารือกันให้ได้ ทั้งนี้ ผมได้สั่งการให้เร่งศึกษาความเป็นไปได้ทุกอย่าง และดูแลประชาชน ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการในโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ด้วย อันนี้คงไม่เฉพาะเรื่องน้ำเรื่องเดียว หลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ต้องมีคนที่ต้องขยับขยาย แต่เราก็ต้องดูแลให้ดีที่สุด

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog