ไม่พบผลการค้นหา
เรื่องร้อนของมนุษย์เงินเดือนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีอะไรเกินการปรับเพดานเงินประกันสังคมเพิ่มซึ่งต้องจ่ายสูงสุดถึง 1.000 บาท

เรื่องร้อนของมนุษย์เงินเดือนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีอะไรเกินการปรับเพดานเงินประกันสังคมเพิ่มซึ่งต้องจ่ายสูงสุดถึง 1.000 บาท

สำหรับอัตราการปรับฐานคำนวณเงินสมทบจากเดิมผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บาท เมื่อขยับฐานมาเป็นเงินเดือน 20,000 บาท จะต้องจ่ายสมทบในอัตราดังนี้คือ เงินเดือนไม่ถึง16,000 บาทจ่ายสมทบ 750 บาท ,เงินเดือน16,000บาท-20,000 บาทจ่ายสมทบ 800 บาท ส่วนเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปจ่ายสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาทซึ่งคาดว่าจะให้รัฐบาลพิจารณาในปี 2561

จึงเกิดข้อถกเถียงเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่กระทบกับรายรับแต่ละเดือน สถานะของสำนักงานประกันสังคม(สปส.)ยังมีความมั่นคงหรือไม่  แล้วเมื่อเก็บเงินเพิ่มขึ้นสวัสดิการที่ได้รับจะดีขึ้นจริงหรือ สิ่งเหล่านี้คือคำถามของมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานในระบบและมีภาระในส่วนนี้แต่ละเดือนๆอยากรู้มากที่สุด

ฟังเสียงลูกจ้าง ก่อนที่จะปรับเพดานประกันสังคม

ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีพูดคุยกับ น.ส.ธนพร วิจันทร์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยธนพร เริ่มตั้งคำถามว่าอยากทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเหตุใดถึงมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้น เพราะถ้าอ้างว่าเพราะกองทุนขาดความมั่นคง ต้องถามรัฐบาลกลับไปว่าที่ผ่านมาได้จ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนครบแล้วหรือไม่ เพราะเงินส่วนใหญ่มาจากนายจ้างและลูกจ้าง

ธนพรกล่าวว่าปัญหาหนึ่งของการบริหารกองทุนประกันสังคมคือวิธีคิดการบริหารแบบราชการ แทนที่จะบริหารแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ให้ผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้จัดการกองทุน มีการสอบถามผู้อยู่ในโครงการก่อนจะนำไปลงทุน แต่กองทุนประกันสังคมที่ สปส.อ้างว่ามีผู้เห็นชอบที่จะให้ปรับขึ้น ร้อยละ81 นั้นสำรวจจากที่ใดเพราะผู้ประกันตนในระบมี 12 ล้านคน เคยมีวิธีสำรวจที่ทั่วถึงหรือไม่ เพราะปัจจุบันลูกจ้างรู้แค่หน้าที่ว่าต้องจ่ายสมทบแต่ละเดือน แต่ไม่เคยรู้สิทธิ์ที่ชัดเจน

เรื่องของการไปใช้สิทธิ์ก็เช่นกัน ธนพรเล่าประสบการณ์ว่าเมื่อไปใช้สิทธิ์ประกันสังคมต้องออกล่วงหน้าก่อนแล้วนำมาเบิก ส่วนมากการบริการอาจจะด้อยกว่าบัตรทองเสียด้วยซ้ำ ทั้งที่บัตรประกันสังคมเหมือนซื้อประกันล่วงหน้าให้ตัวเองเงินที่เหลือจากที่ผู้ประกันตนเลือกใช้สิทธิ์โรงพยาบาลเมื่อถึงสิ้นปีไปใช้สิทธิ์ไม่ครบ เงินก็ตกเป็นของโรงพยาบาลไม่ได้คืนมาที่กองทุนประกันสังคมแต่อย่างใด

ธนพร ชี้ว่าความเท่าเทียมกันทางสาธารณสุขนั้นไม่มีจริง เหตุเพราะว่าในหลักประกัน 3 แท่ง อันได้แก่ สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ ข้าราชการนั้นได้สิทธิในการรักษามากกว่าอื่นๆ ทั้งเบี้ยต่อหัวและสิทธิครอบครัว และก็เป็นกลุ่มข้าราชการที่มาออกกฎเกณฑ์ในการเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ใช้สิทธิ์อื่นๆ เหมือนออกกฎหมายมาเพื่อกลั่นแกล้งกันหรือไม่แทนที่จะให้สิทธิการรักษาพยาบาลมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งการเพิ่มเบี้ยประกันสังคมเป็นการส่งผลกระทบต่อการจ้างงานทางอ้อม เมื่อนายจ้างไม่สามารถจ่ายสมทบไหว ก็จะไปลดขนาดด้วยการลดพนักงานอีกด้วย

ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ธนพรมองว่ารัฐบาลต้องเตรียมรองรับหลักประกันในส่วนนี้ เพราะกลุ่มประกันสังคมเมื่อถึงวัยเกษียณก็จะถูกโยกให้ไปอยู่กลุ่มบัตรทอง และเงินช่วยเหลือในแต่ละเดือนน้อยเกินกว่าจะสามารถอยู่ได้ในแต่ละเดือน ส่วนรัฐบาลเองก็ไม่เคยจ่ายสมทบในส่วนที่เป็นกองทุนชราภาพเลย มีเพียงแค่นายจ้างและลูกจ้างเท่านั้นที่จ่ายสมทบ

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog