ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เสนอให้รัฐรับภาระโครงข่ายภาคพื้นดิน (MUX) ปีละ 170 ล้านบาทต่อช่อง พร้อมขอให้ยุติการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่เหลือ ขณะที่ นายกรัฐมนตรี โยน กสทช.แก้ปัญหาค่าเช่าทีวีดิจิตอลแพง เพราะถือเป็นเรื่องการลงทุนธุรกิจ
นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิตอลและตัวแทนได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการปฏิรูปสื่อฯ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณานำข้อเสนอปรับโครงสร้างอุตสาห กรรมทีวีดิจิตอลไปอยู่ในแผนปฏิรูปสื่อของประเทศ ได้ยื่นหนังสือด่วนมากถึง นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับเรื่องการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างสื่อสารมวลชนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมการรับสื่อของประชาชนในปัจจุบัน
นายสุภาพ ระบุว่า การประมูลทีวีดิจิตอลปลายปี 2556 ซึ่งประมูลกันสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท จากที่ตั้งเป้ารายได้ 1.5 หมื่นล้านบาท และปัจจุบันจ่ายเงินไปแล้ว 3.4 หมื่นล้านบาท แต่ผู้ประกอบการประสบปัญหาจากภัยคุกคามของเทคโนโลยี จึงเสนอให้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลด้วยการรีฟาร์มมิ่งคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จากที่ใช้งานในทีวีดิจิตอล มาใช้ฝั่งโทรคมนาคมให้เร็วขึ้นจากที่กสทช.กำหนดว่าจะเรียกคืนคลื่นและประมูลในปี 2563คลื่นใหม่ที่จะให้ทีวีดิจิตอลใช้งาน
นอกจากนี้แล้วผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ได้ยื่นข้อเสนอไปในครั้งนี้ว่าต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน (MUX) ต้องชำระให้แก่ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้��ดิน (MUX) สำหรับทีวีดิจิตอลในระบบความคมชัดสูง (HD) ปีละ 170 ล้านบาทต่อช่อง และสำหรับทีวีดิจิตอลในระบบความคมชัดปกติ (SD) ปีละกว่า 60 ล้านบาทต่อช่อง ซึ่งสวนทางกับจำนวนผู้ชมผ่านโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่มีจำนวนน้อยมาก รายได้จากค่าโฆษณาลดลงตามไป ดังนั้นหากดำเนินการเปลี่ยนผ่านเช่นเดิมต่อไป โดยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยังต้องแบกรับภาระค่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินเป็นการสร้างภาระ เมื่อไม่คุ้มทุนผู้ประกอบการยุติประกอบกิจการก่อนครบระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี
"งบประมาณการแจกคูปองก็ยังคงเหลืออีกจำนวนมาก การที่รัฐเป็นผู้รับภาระค่า MUX แทนผู้ประกอบ การจึงมีความชอบธรรม และไม่ได้ทำให้รัฐต้องเสียประโยชน์แต่อย่างใด"
นอกจากนี้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมารัฐได้รับเงินค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ไปแล้วประมาณ 33,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ซึ่งได้ชำระค่าธรรมเนียมไปแล้วรวมกันมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าคลื่นที่ใช้ในกิจการทีวีดิจิตอลในปัจจุบันทั้งหมด จึงควรยุติการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่เหลืออยู่
นายกฯ โยน กสทช.ตอบผู้ประกอบการ
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ขอความช่วยเหลือโดยต้องการให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลดค่าเช่าลงว่า เป็นเรื่องของ กสทช.ที่จะพิจารณาต่อไป เพราะเป็นเรื่องของการลงทุนธุรกิจ ซึ่งต้องไปว่ามาถึงทางออก
ทั้งนี้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลจำนวน 13 ช่องรายการ ได้แก่