ไม่พบผลการค้นหา
นายวิทิต มันตาภรณ์ ผู้ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเพศสภาพของยูเอ็นเมื่อปี ที่แล้ว ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา

เว็บไซต์ขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 'ฮิวแมนไรท์แคมเปญ' เปิดเผยว่า นายวิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับเแต่งตั้งจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอิสระว่าด้วยการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (SOGI) เมื่อปีที่แล้ว ได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กันยายน ซึ่งจะส่งผลให้นายวิทิตพ้นจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ตุลาคม โดยนายวิทิตให้เหตุผลที่ลาออกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและครอบครัว

นายวิทิตเป็นคนแรกที่รับตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านเพศสภาพของยูเอ็น เพราะตำแหน่งดังกล่าวได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรที่เคลื่อนไหวด้านความหลากหลายทาง เพศ รวมถึงสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แม้จะมีสมาชิกบางประเทศคัดค้าน แต่ตำแหน่งดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมใหญ่ของ ยูเอ็นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ไท ค็อบบ์ ผู้อำนวยการองค์กรฮิวแมนไรท์แคมเปญ ได้กล่าวสนับสนุนการแต่งตั้งตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเพศสภาพของยูเอ็น ว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดสิทธิที่เท่าเทียมกันแก่กลุ่มผู้หลาก หลายทางเพศทั่วโลก พร้อมทั้งยกย่องว่านายวิทิตได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีในฐานะผู้ดำรงตำแหน่ง นี้เป็นคนแรก และถือเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางที่ยอดเยี่ยม

ขณะที่องค์กรสหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อความหลากหลายทางเพศ ILGA ระบุว่านายวิทิตได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในฐานะผู้เชี่ยวชาญ พิเศษด้านเพศสภาพของยูเอ็น โดยมีการจัดทำรายงาน 2 ฉบับ ว่าด้วยการต่อสู้กับความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ หลังจากที่เขาได้เดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาร์เจนตินา ฮอนดูรัส และเชชเนีย ซึ่งได้เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติไปแล้ว และจะเป็นการวางรากฐานการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ผู้ที่จะมารับตำแหน่งนี้เป็นคนต่อไป

ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอิสระว่าด้วยการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (SOGI) ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี

ส่วนกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเพศสภาพแทนนายวิทิต จะเริ่มจากการประกาศรับสมัครผู้ที่สนใจจะเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติจาก 5 ประเทศ ได้แก่ โครเอเชีย ฮอนดูรัส มาเลเซีย มอริเชียส และนอร์เวย์ จะเป็นผู้สัมภาษณ์และคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม 3 รายชื่อ เพื่อไปเสนอต่อประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงรายเดียว เพื่อให้สมาชิกคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนฯ ลงมติว่าจะเห็นชอบการดำรงตำแหน่งของผู้ได้รับการเสนอชื่อคนดังกล่าวหรือไม่ คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาหลายเดือน แต่ก็น่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2017

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog