ไม่พบผลการค้นหา
ปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยหลายราย นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในโรงงานเพื่อทดแทนแรงงานคน ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิต สอดรับกับเทรนด์ของโลก เช่นเดียวกับกลุ่มไทยซัมมิท ที่ในสิ้นปีนี้มีแผนจะเพิ่มหุ่นยนต์ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ให้ได้ 2,000 ตัว 

ปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยหลายราย นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในโรงงานเพื่อทดแทนแรงงานคน ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิต สอดรับกับเทรนด์ของโลก เช่นเดียวกับกลุ่มไทยซัมมิท ที่ในสิ้นปีนี้มีแผนจะเพิ่มหุ่นยนต์ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ให้ได้ 2,000 ตัว 
 

หุ่นยนต์แขนกล ที่กำลังผลิตชิ้นส่วนแผงเหล็กกั้นระหว่างห้องเครื่องกับคอนโซนรถยนต์ เป็นหนึ่งในขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของกลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท แหลมฉบัง โอโตพาร์ท จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำงานแทนคน จากเดิมที่ต้องใช้แรงงาน 15 คน ลดเหลือแค่ 5 คน ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตได้มากถึงร้อยละ 50

ส่วนหุ่นยนต์เก็บของตัวนี้ ถูกนำมาทดแทนแรงงานคนในขั้นตอนการผลิต ซึ่งหุ่นยนต์ 1 ตัว จะทดแทนแรงงานคนได้ถึง 3 คน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากถึงร้อยละ 90 โดยไทยซัมมิทกรุ๊ป นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในโรงงานตั้งแต่ปี 2555 จนปัจจุบันมีจำนวน 1,765 ตัว และ 3 ปีที่ผ่านมา สามารถทดแทนคนงาน ได้ถึง 5,000 คน

ไทยซัมมิทกรุ๊ป มีแผนจะนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าสิ้นปีนี้จะมีทั้งสิ้น 2,000 ตัว ขณะเดียวกันได้ร่วมพัฒนาการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์สำหรับการผลิต เพื่อลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศ

เมื่อบริษัทขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจด้วยการนำหุ่นยนต์เข้ามาอยู่ในไลน์การผลิตทุกขั้นตอน จนสร้างความกังวลว่าคนจะตกงานมากขึ้น แต่สภาอุตสาหกรรมฯ เชื่อว่า จะไม่เป็นอย่างนั้น และน่าจะเปิดโอกาสให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาแทน เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ด้วยระบบดิจิทัล

การที่ภาคเอกชน หันมาใช้หุ่��ยนต์ในภาคการผลิตมากขึ้น ส่งสัญญาณว่า ประเทศไทยอาจพร้อมเป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนหุ่นยนต์ และมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เพื่อลดการนำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ปัจจุบันไทยยังขาดดุลการค้าถึง 130,000 ล้านบาท สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ หลังจากนี้ เราอาจได้เห็นหุ่นยนต์ใหม่ๆ ที่คอยให้บริการประชาชนในชีวิตประจำวันมากขึ้น

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog