ไม่พบผลการค้นหา
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี อ่านคำพิพากษาศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ให้ บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ ประเทศไทย จำกัด และคณะกรรมการ ชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวบ้านคลิตี้ล่าง 151 คน 36,050,000 บาท และร่วมฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ ให้กลับมาใช้การได้ดังเดิม 

ศาลจังหวัดกาญจนบุรี อ่านคำพิพากษาศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ให้ บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ ประเทศไทย จำกัด และคณะกรรมการ ชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวบ้านคลิตี้ล่าง 151 คน 36,050,000 บาท และร่วมฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ ให้กลับมาใช้การได้ดังเดิม 
 

 วันที่ 11 กันยายน 2560 นายสุรพงษ์ กองจันทึก ทนายความจากสภาทนายความ พร้อมด้วยนายยะเสอะ นาสวนสุวรรณ และตัวแทนชาวบ้านคลิตี้ล่าง จำนวน 20 คน เดินทางมาที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเข้ารับฟังการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา กรณีที่นายยะเสอะ พร้อมชาวบ้านคลิตี้ล่างรวม 151 คน ได้ฟ้องร้องบริษัท ตะกั่วคอนเซนเทรท ประเทศไทย จำกัด พร้อมคณะกรรมการ รวม 7 คน ที่ได้ปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารตะกั่ว ลงในแหล่งน้ำลำห้วยคลิตี้ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของชาวบ้าน ส่งผลให้ชาวบ้านที่นำน้ำไปใช้อุปโภคบริโภคและจับสัตว์น้ำในลำห้วยคลิตี้มารับประทาน ได้รับสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายจำนวนมาก มีทั้งผู้ที่ล้มป่วยและเสียชีวิต อีกทั้งยังไม่สามารถนำน้ำในลำห้วยมาใช้อุปโภคบริโภคได้ตามปกติ  
 
นายยะเสอะพร้อมพวกรวม 151 คนจึงได้รวมตัวกันยื่นฟ้องบริษัท ในข้อหาหรือฐานความผิด ละเมิด ตาม พรบ ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพุทธศักราช 2535 ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 1,041,952,000 บาท รวมถึง ได้ยื่นฟ้องเพื่อขอให้ทางบริษัท ดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยไม่มีสารปนเปื้อนในปริมาณที่เกินค่ากำหนด  
 
หลังจากนายสุรพงษ์ พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านทั้ง20คน ได้เดินทางเข้าไปฟังคำพิพากษานานกว่าหนึ่งชั่วโมง ก็ได้ออกมากล่าวถึงคำพิพากษาของศาลฎีกาว่า ศาลฎีกายืนตาม ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ โดยให้  
 
1. จำเลยทั้ง7 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวบ้าน 151 คน จำนวน 36,050,000 บาท
 
2.จำเลยที่เป็นกรรมการบริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์(ประเทศไทย) จำกัดรวมทั้งผู้จัดการมรดก ของกรรมการที่เสียชีวิตไปแล้ว ต้องร่วมชดใช้เป็นการส่วนตัว 
 
3.เนื่องจากชาวบ้านที่ฟ้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมตามรัฐธรรมนูญจึงมีสิทธิเรียงร้องให้ผู้ก่อมลพิษ ดำเนินการนฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ให้ดีเหมือนเดิม 
 
และ 4.ส่วนกรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่ต้องกำจัดมลพิษอยู่แล้ว ตามกฎหมายต้องดำเนินการฟื้นฟูจนกว่าลำห้วยจะกลับมาปกติเหมือนเดิม ซึ่งคดีในครั้งนี้จะถือเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีสิ่งแวดล้อมคดีอื่นๆในประเทศไทยได้ต่อไป

 

รายงานโดย : โชติพงษ์ วงศ์พนารักษ์

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog