ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการชาวต่างชาติ รวมถึงผู้รับรางวัลโนเบล ลงชื่อคัดค้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สั่งลงโทษนิสิต 8 คน รวมถึงนายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ พร้อมเรียกร้องจุฬาฯ ให้คุณค่ากับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชน

นักวิชาการชาวต่างชาติ รวมถึงผู้รับรางวัลโนเบล ลงชื่อคัดค้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สั่งลงโทษนิสิต 8 คน รวมถึงนายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ พร้อมเรียกร้องจุฬาฯ ให้คุณค่ากับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชน

กลุ่มนักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน รวม 23 คน จากมหาวิทยาลัยชื่อดังและสถาบันระหว่างประเทศหลายแห่ง ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ เรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยุติบทลงโทษทางวินัยนิสิต 8 คน รวมถึงนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตฯ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของนิสิตชั้นปีที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าเป็นการลงโทษที่ไม่เป็นธรรม

เนื้อหาในแถลงการณ์เผยว่ากลุ่มผู้ลงชื่อฯ ติดตามเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของจุฬาฯ อย่างต่อเนื่อง และเห็นพ้องต้องกันว่าการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากสถาบันของกลุ่มนิสิต ทั้ง 8 คน เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากทางสถาบัน แต่ไม่ได้ขัดต่อหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และกลุ่มผู้ลงชื่อฯ ยังได้เรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคารพในคุณค่าอันเป็นสากลของ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชน

"มหาวิทยาลัยควรเคารพความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่นเดียวกับที่ต้องเคารพการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบที่แตกต่างด้วย" แถลงการณ์ระบุ ขณะที่บทลงโทษนิสิตทั้ง 8 คนจะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อทางมหาวิทยาลัยและสังคมไทย กลุ่มนักวิชาการจึงขอเรียกร้องให้จุฬาฯ ยกเลิกบทลงโทษดังกล่าว

ผู้ร่วมลงชื่อในครั้งนี้ รวมถึงโรอัลด์ ฮอฟมานน์ ศาสตราภิชานแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเมื่อปี 1981, โยฮัน กัลตุง ผู้ก่อตั้งองค์กรทรานส์เซนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเคลื่อนไหวด้านการส่งเสริมสันติภาพ, นอม ชอมสกี นักวิชาการและนักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ซึ่งเคยส่งจดหมายให้กำลังใจนายเนติวิทย์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา, เจมส์ ซี. สก็อต ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และทามารา ลูส์ ศาสตราจารย์ด้าน​ประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล

อย่างไรก็ตาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์เมื่อวานนี้ (6 กันยายน) โดยยืนยันว่ามหาวิทยาลัยเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง และพร้อมยอมรับความแตกต่าง แต่การลงโทษทางวินัยกลุ่มนิสิตดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนและกฎระเบียบตามปกติ ของมหาวิทยาลัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:






 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog