ไม่พบผลการค้นหา
พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นจุดหมายตาตั้งแต่แรกสร้างเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ งามพร้อมทั้งในทางรูปทรง ประติมากรรมประกอบ กระเบื้องสีประดับ สื่อแสดงภูมิจักรวาลและคติสมมติเทวราช

พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นจุดหมายตาตั้งแต่แรกสร้างเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ งามพร้อมทั้งในทางรูปทรง ประติมากรรมประกอบ กระเบื้องสีประดับ สื่อแสดงภูมิจักรวาลและคติสมมติเทวราช

 

วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อว่า วัดแจ้ง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี มีการสร้างพระอุโบสถกับพระปรางค์ขึ้นใหม่ งานก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม

 

พระปรางค์วัดอรุณถือเป็นสุดยอดของพัฒนาการของเจดีย์ทรงปรางค์ รังสรรค์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพียงแห่งเดียว นับแต่นั้น ไม่ปรากฏในที่อื่นๆ หรือในรัชสมัยอื่นๆ อีกเลย

 

ภาพถ่ายที่นำเสนอในที่นี้ บันทึกเมื่อช่วงปี 2557-2558 ระหว่างการบูรณะครั้งใหญ่

 

พระปรางค์วัดอรุณ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ปรางค์ประธาน ปรางค์บริวารประจำมุมทั้งสี่ และมณฑปประจำด้านทั้งสี่

 

ทั้งหมดตั้งบนฐานสูงร่วมกัน เรียกว่า ฐานไพที มีบันไดทางขึ้นสู่ฐานประทักษิณชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2  

 

ฐานแต่ละชั้น ประดับประติมากรรมแบก มีทางเดินเวียนขวาโดยรอบ สำหรับกระทำการสักการะพระมหาธาตุ

 

เจดีย์ประธานมีฐาน 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ฐานล่าง เป็นฐานยักษ์แบก ส่วนที่สอง เหนือขึ้นไป เป็นฐานกระบี่แบก ส่วนที่สาม เป็นส่วนรองรับเรือนธาตุ เป็นฐานเทวดาแบก

 

ส่วนฐานชั้นที่ 1 ยักษ์แบก และส่วนฐานชั้นที่ 2 กระบี่แบก

 

ประติมากรรม ยักษ์แบก

 

ประติมากรรม กระบี่แบก

 

ประติมากรรม เทวดาแบก

 

ชุดฐาน เทวดาแบก รองรับส่วนกลางของเจดีย์ เรียกว่า เรือนธาตุ

 

ส่วนเรือนธาตุมีจระนำซุ้มยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือสันหลังคาซุ้มประดับด้วยเจดีย์ทรงปรางค์ขนาดเล็ก

 

ภายในช่องจระนำ ประดิษฐานรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณทั้งสี่ด้าน นับเป็นการประดับปรางค์ที่แปลกใหม่แผกจากแบบแผนเดิมที่นิยมประดิษฐานพระพุทธรูป

 

รูปพระอินทร์ที่ชั้นเรือนธาตุ สื่อความหมายว่าส่วนนี้เป็นสวรรค์ของพระอินทร์ ตามคติพุทธนั้น สวรรค์ของพระอินทร์เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณี ที่พระอินทร์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระเขี้ยวแก้วและพระเกศาของพระพุทธเจ้า

 

ส่วนล่างของยอดปรางค์ เรียกว่า เชิงบาตร ประดับรูปครุฑยุดนาคและพระนารายณ์ ยอดบนสุดประดับนภศูล

 

ปรางค์ประธานเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทั้งสี่ด้านของพระปรางค์มีมณฑป

 

มณฑปเป็นรูปแทนของท้าวจตุมหาราช เทวดารักษาทิศทั้งสี่

 

ทั้งสี่มุมของเจดีย์ประธาน เป็นที่ตั้งของเจดีย์บริวาร สัญลักษณ์แทนมหาทวีปทั้งสี่ในสี่ทิศของเขาพระสุเมรุ

 

ปรางค์บริวารเสริมความสูงให้สอดรับกับปรางค์ประธาน โดยเพิ่มฐานเขียงที่เจาะช่องวงโค้ง ภายในวงโค้งประดับรูปกินรีปูนปั้น และเหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงประดับรูปยักษ์แบก

 

จระนำของเรือนธาตุปรางค์บริวาร ปรากฏรูปประดับอย่างใหม่ นั่นคือ บุคคลทรงม้าถือกระบี่

 

ที่ชั้นเชิงบาตรเหนือเรือนธาตุ รูปประดับมีการปรับเปลี่ยนจากรูปเทวดาแบกตามความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นกระบี่แบก และยังมีการเพิ่มชั้นประดับอีกหนึ่งชั้น โดยทำเป็นรูปเทวดาพนมมือ

 

ขณะที่รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่ปรางค์ประธานสื่อความหมายถึงสวรรค์ของพระอินทร์ รูปบุคคลทรงม้าถือกระบี่ที่ปรางค์บริวารถูกตีความว่า อาจหมายถึงพระเจ้าจักรพรรดิตามภาพไตรภูมิ ผู้ปราบแว่นแคว้นในมหาทวีปทั้งสี่ด้วยการเผยแผ่ธรรม   

 

พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม จึงแสดงคติสมมติเทวราช สื่อความหมายว่า พระมหากษัตริย์ทรงยิ่งใหญ่ประดุจเทพเจ้า ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ศูนย์กลางของโลก.

 

แหล่งข้อมูล

 

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.  (2556).  พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน.  กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง

ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง

 

 

 

 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog