ไม่พบผลการค้นหา
9 สิงหาคม วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก ตัวแทนจาก 37 ชนเผ่าทั่วประเทศ เรียกร้องสิทธิ์ต่อรัฐบาล หวังการเลือกตั้งผลักดันกฎหมายสร้างความเท่าเทียม

9 สิงหาคม วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก ตัวแทนจาก 37 ชนเผ่าทั่วประเทศ เรียกร้องสิทธิ์ต่อรัฐบาล หวังการเลือกตั้งผลักดันกฎหมายสร้างความเท่าเทียม

การประชุมสมัชชาระดับชาติว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ และมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้นตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP)

เปิดเวทีให้ตัวแทนจากทุกชนเผ่าพูดคุยถึงปัญหา และร่วมหาทางออกเพื่อเสนอต่อรัฐบาล อาทิ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยเกษตรอินทรีย์ ,การแก้กฎหมายป่าไม้และการทวงคืนผืนป่าของรัฐ , การศึกษาของชนเผ่าพื้นเมือง , ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน , ปัญหาสถานะของคนไร้รัฐ , สิทธิสตรีของชนเผ่าพื้นเมือง , และการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข 

ซึ่งตัวแทนชนเผ่าเห็นว่ารัฐบาลควรให้สิทธิพวกเขาก่อตั้งสภาอย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดพื้นที่ให้ถกประเด็น และหาแนวทางแก้ไขปัญหากับตัวแทนของรัฐ และเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านร่างพระราชบัญญัติสภาชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่มีความพยายามผลักดันในชั้นกรรมาธิการสังคม สนช. มาเกือบ 2 ปี แต่กฎหมายยังไม่มีความคืบหน้า 

นายเกิด พนากำเนิด นายกสมาคมม้งแห่งประเทศไทย เห็นว่าความหวังการผลักดันกฎหมาย และสร้างความเท่าเทียมให้กับชาวชนเผ่าพื้นเมือง ในฐานะพลเมืองไทย อยู่ที่การเลือกตั้งครั้งหน้า มีผู้แทนมาจากประชาชน โดยเฉพาะชาวชนเผ่าพื้นเมือง

หากมองกลับมาที่หลักการในกฎหมายลูกว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. กลุ่มอัตลักษณ์ และชาติพันธุ์ ถูกบัญญัติไว้เป็น 1 ในกลุ่มคนที่จะมาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา แต่ด้วยบทเฉพาะกาลที่แม้จะคัดเลือกตัวแทนประชาชนมาได้ 200 คนก็ตาม แต่จะมีเพียง 50 ที่นั่งเท่านั้น ที่ คสช. จะคัดเลือก ส.ว. ที่มาจากประชาชนจริงๆ ส่วนอีก 200 คนมาจากการสรรหา และตำแหน่งสำคัญในกองทัพ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog