ไม่พบผลการค้นหา
นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียประกาศผลักดันให้ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการของอาเซียน พร้อมทั้งระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ในอนาคต ภาษามาเลย์จะเป็นหนึ่งในภาษากลางของโลก

นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียประกาศผลักดันให้ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการของอาเซียน พร้อมทั้งระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ในอนาคต ภาษามาเลย์จะเป็นหนึ่งในภาษากลางของโลก

นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเปิดเผยว่า เขาต้องการผลักดันให้ภาษามาเลย์ กลายเป็นภาษาราชการของอาเซียนภายในปี 2050 เนื่องจากในปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกอาเซียนถึง 4 ประเทศจาก 10 ประเทศ ที่ใช้ภาษามาเลย์เป็นหนึ่งในภาษาราชการ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน และในปัจจุบันมีประชากรอาเซียนกว่า 290 ล้านคนจากทั้งหมด 640 ล้านคนที่ใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาหลัก ซึ่งรวมถึงประชากรในพื้นที่ภาคใต้ของไทยด้วย

นายนาจิบได้ยกตัวอย่างว่ามาเลเซียเป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัย โดยรัฐบาลได้พยายามสนับสนุนการใช้ภาษามาเลย์ ด้วยการออกมาตรการบังคับให้นักศึกษาต่างชาติต้องลงทะเบียนเรียนมาภาษามาเลย์ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยความสำคัญของภาษาอื่น อย่างภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปตามชุมชนชาวจีน หรือภาษาทมิฬ ซึ่งใช้ทั่วไปในกลุ่มประชากรเชื้อชาติอินเดีย นอกจากนี้ นายนาจิบยังระบุว่า ในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่ภาษามาเลย์จะกลายเป็นหนึ่งในภาษากลางของโลก

นาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

ปัจจุบัน ภาษาราชการของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียนมี 10 ภาษา ได้แก่ ภาษาพม่า, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, เขมร ลาว, มาเลย์, จีนแมนดาริน, ทมิฬ, ไทย และภาษาเวียดนาม 

เมื่อปี 2012 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยเผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่า ภาษาไทยจะกลายเป็นภาษากลางของอาเซียน โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับภาษาอังกฤษ ซึ่งงานวิจัยชิ้นดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย รวมไปถึงนักประวัติศาสตร์ชื่อดังอย่างศาสตราจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ออกมาโจมตีว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นว่า ภาษาไทยสามารถกลายเป็นภาษากลางของโลกได้ หากปฏิรูปการศึกษาสำเร็จ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog