ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากจองแบบหลังคาจั่วซ้อนชั้น เจดีย์แบบพม่า แล้ว ภายในวิหารวัดไชยมงคล (จองคา) นครลำปาง ยังมีพระพุทธรูปทรงเครื่อง นำมาจากเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ศึกษาเยี่ยมชมด้วย

นอกจากจองแบบหลังคาจั่วซ้อนชั้น เจดีย์แบบพม่า แล้ว ภายในวิหารวัดไชยมงคล (จองคา) นครลำปาง ยังมีพระพุทธรูปทรงเครื่อง นำมาจากเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ศึกษาเยี่ยมชมด้วย

 

ตามประวัติ เมื่อปีพ.ศ. 2420 คหบดีชาวพม่าก่อตั้งศาสนสถานขึ้นในที่ดินรกร้างที่มีหญ้าคาขึ้นอยู่มาก จึงเรียกชื่อว่า สำนักสงฆ์จองคา ต่อมาในปี 2450 เจ้าหลวงบุญวาทย์ วงศ์มานิต เจ้าเมืองลำปางสมัยนั้น ยกฐานะสำนักสงฆ์ขึ้นเป็นวัด นามว่า วัดไชยมงคล (จองคา)

 

ในอดีต วัดจองคาเคยเป็นสถานที่เรียนภาษาบาลี ภาษามคธ และภาษาพื้นเมืองสำหรับภิกษุสามเณร เป็นพระอารามแห่งเดียวในจังหวัดลำปางที่จัดสอบภาษาบาลีและภาษามคธ  

 

วิหารหรือจองเป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาเป็นเครื่องไม้ทรงจั่วซ้อนชั้นแบบพม่า ชั้นล่างใช้เป็นที่จำวัดของสามเณรและใช้เก็บของ ชั้นบนใช้ประกอบศาสนกิจ

 

มุขบันไดอยู่ทางทิศตะวันตกของจอง มีหลังคาทรงจั่วลดระดับ 3 ชั้นคลุมทางขึ้น เชิงชายของหลังคาประดับด้วยลายไม้แกะสลัก

 

เสามุขบันได (ซ้าย) ประดับด้วยโครงโลหะฉลุเป็นลายพรรณพฤกษา ปั้นรักปิดทองประดับกระจกสี ทำเป็นรูปเทพพนม รูปสัตว์หิมพานต์

 

กันสาด ชายคา และระเบียง ตกแต่งด้วยแผ่นไม้ฉลุลวดลาย (ขวา-ล่าง) ดาวเพดานเป็นไม้ฉลุลงรักปิดทอง

 

บนเพดานมีพระอาทิตย์ แสดงด้วยภาพนกยูง กับพระจันทร์ แสดงด้วยภาพกระต่าย สื่อความหมายว่า จองแห่งนี้เสมือนเป็นปราสาทเหนือเขาพระสุเมรุ แกนกลางของจักรวาล

 

ผ่านทางเชื่อมระหว่างบันไดกับตัวอาคาร เป็นห้องกว้างสำหรับปฏิบัติศาสนกิจ ถัดเข้าไปด้านในเป็นห้องพระประธาน เหนือทางเข้าออกทุกจุดมีแผงไม้สลักลวดลายสวยงาม

 

เหนือทางเข้าห้องพระประธาน มีภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ถัดลงมาเป็นโก่งคิ้วประดับลวดลายฉลุโปร่ง

 

ภาพเล่าเรื่อง ตอนเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช

 

พระประธาน มีนามว่า พระพุทธไชยมงคล ประดิษฐานบนฐานชุกชี รายล้อมด้วยรูปพระสาวก

 

เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เนื้อสำริด นำมาจากเมืองมัณฑะเลย์เมื่อพ.ศ. 2450

 

ลวดลายประดับ ทั้งที่ฐานชั้นล่างและฐานชั้นบน มีความประณีตมาก

 

ฐานชั้นบนตกแต่งด้วยโลหะฉลุลาย ฐานชั้นล่างเป็นไม้แกะสลัก ด้านล่างสุดดูคล้ายชายผ้าทิพย์ที่พลิ้วไหวสะบัดปลาย

 

ดาวเพดานในห้องพระประธาน

 

เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร สร้างเมื่อพ.ศ. 2460 เป็นเจดีย์แบบพม่า ขนาดค่อนข้างใหญ่

 

ที่ฐานชั้นล่างสุดมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่  ถัดขึ้นไปที่มุมของแต่ละชั้นประดับประติมากรรม ชั้นที่หนึ่งประดับด้วยดอกบัว ชั้นที่สองเป็นนรสิงห์ (ตัวเป็นสิงห์ หน้าเป็นคน) ชั้นที่สามเป็นดอกบัว

 

สัปดาห์หน้า ปิดท้ายชุดนำเที่ยววัดพม่าในลำปาง ที่วัดม่อนปู่ยักษ์.

 

แหล่งข้อมูล

 

ฐาปกรณ์ เครือระยา.  วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง.

 

บงกช นันทิวัฒน์.  (2550).  เจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปาง.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

 

 

 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
182Article
76558Video
0Blog