ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากกลุ่ม ปตท. จะใช้งบประมาณสำหรับการลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากแล้ว  ล่าสุดยังใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 20.8 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะผลิตและขายไฟได้ภายในปี 2562 

นอกจากกลุ่ม ปตท. จะใช้งบประมาณสำหรับการลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากแล้ว  ล่าสุดยังใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 20.8 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะผลิตและขายไฟได้ภายในปี 2562 
 

เนื้อที่ 560ไร่ ที่เต็มไปด้วยแผงโซลาเซลล์ ขนาด 20.8 เมกกะวัตต์ เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อิชิโนเซกิ โซล่า พาวเวอร์ 1จีเค ในเมืองอิชิโนเซกิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การลงทุนของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC มูลค่า 3,000 ล้านบาท บริษัทในเครือ ปตท. นับเป็นก้าวสำคัญที่กลุ่ม ปตท. มองเห็นกระแสโลก ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่น ที่สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเหล่านี้ จนเป็นตลาดเสรี ทั้งค่าไฟและต้นทุนการก่อสร้าง  

ขณะนี้ โซล่าฟาร์ม อิชิโนเซกิ โซล่า พาวเวอร์ 1จีเค  มีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้วกว่าร้อยละ 30 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และส่งไฟฟ้าเข้าระบบเพื่อจำหน่ายให้บริษัท Tohoku Electric Power บริษัทสาธารณูปโภคของญี่ปุ่น ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยโครงการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 20 ปี และมีค่าไฟฟ้า 40 เยน หรือประมาณ 12 บาทต่อหน่วย

ภายในโซลาฟาร์ม อิชิโนเซกิ แบ่งเป็น 2โซน โซน A ขนาด 20.8 เมกะวัตต์  ขณะนี้ติดตั้งระบบและแผงโซล่าเซลล์ แล้วกว่าร้อยละ70

ส่วนโซน B ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน ขนาดผลิต 15 เมกะวัตต์ จะใช้เงินลงทุนใกล้เคียงกับโครงการแรกที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท ตอนนี้กำลังศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จะตัดสินใจลงทุนได้     

นอกจากนี้ ปตท. ยังมีแผนที่จะต่อยอดธุรกิจ Energy Storage system โดยร่วมมือกับบริษัท 24M Technologies. Inc หรือ 24M ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริษัทที่คิดค้นเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ประสิทธิภาพสูง ราคาถูก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ช่วยลดปริมาณการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับโครงการโซล่าฟาร์มแห่งนี้ด้วย 

คาดว่าจะสามารถสร้างโรงงานผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ได้ ทั้งในไทยและเอเชีย ภายในปี 2562 

สำหรับเทคโนโลยีโซลาฟาร์มในประเทศไทยนั้น ก็มีการพัฒนามากขึ้นเช่นกัน อย่างเช่น เทคโนโลยีแผงโซลาเซลล์ที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์ประเภท Thin Film หรือ ฟิล์มบาง ซึ่งทนต่ออุณหภูมิสูงได้ เหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่  

หรือแม้กระทั่ง การใช้ระบบ Tracking System หรือแผงโซล่าหันตามดวงอาทิตย์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และโซลาฟาร์มบนทุ่นลอยน้ำ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2561 นี้     
 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog