ไม่พบผลการค้นหา
งานเสวนา 'พินิจอินเทอร์เน็ตไทย ในยุคไทยแลนด์4.0 (?) ชี้ปัญหาใหญ่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 คือการไม่เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง

งานเสวนา 'พินิจอินเทอร์เน็ตไทย ในยุคไทยแลนด์4.0 (?) ชี้ปัญหาใหญ่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 คือการไม่เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง

วันนี้ (18 ก.ค.)ที่จุฦาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน "จุฬาเสวนา"ครั้งที่ 8  หัวข้อ 'พินิจอินเทอร์เน็ตไทย ในยุคไทยแลนด์4.0 (?) นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวถึงสถานการณ์อินเทอร์เน็ตไทยว่า คดีมาตรา112ส่วนมากที่มีการจับกุมมักมีการเชื่อมกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ถึงร้อยละ 90 และในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลคสช.รัฐพยายามทำให้เกิดความกลัวในการใช้โลกออนไลน์ของประชาชน

นายยิ่งชีพ ยกตัวอย่างตั้งแต่การพยายามปิด Facebook หลังรัฐประหารได้ไม่กี่วัน การประกาศจะทำ Single Gateway การผลักดัน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ รวมไปถึงล่าสุดที่กสทช.พยายามจะเข้ามาควบคุม OTT สิ่งเหล่านี้หลายๆเรื่ององค์กรดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจทางกฎหมายที่แท้จริง แต่เป็นการตีข่าวเพื่อให้เกิดกระแสความหวาดกลัวและการเซนเซอร์ตัวเองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า เพื่อหวังผลทางการเมือง

ด้าน ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯมองว่าอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไทยนั้นยังไม่เท่าเทียม เพระาถึงแม้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของไทยจะค่อนข้างสูงโดยเฉพาะผ่านเครื่องมืออย่างสมาร์ทโฟน แต่ในบางพื้นที่จะพบว่าการเข้าถึงก็ยังต่ำ และนโยบายรัฐที่ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอาจไม่ตรงจุด เช่น "เน็ตประชารัฐ"นั้นเชื่อมต่อไปถึงแค่ในระดับหมู่บ้าน ไม่ได้เชื่อมถึงระดับครัวเรือน แทนที่จะให้เอกชนเข้ามาทำโดยรัฐสนับสนุนในการให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จะดีกว่า เช่น เปิดให้ประมูลในการกระจายสัญญาณในพื้นที่นั้นในราคาที่ถูก เป็นต้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
183Article
76558Video
0Blog