ไม่พบผลการค้นหา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณากฎหมายเซ็ตซีโร่ กกต. ด้านประธาน กกต. ยันยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเพื่อความชัดเจนของกฎหมาย

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณากฎหมายเซ็ตซีโร่ กกต. ด้านประธาน กกต. ยันยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเพื่อความชัดเจนของกฎหมาย


วันนี้(13ก.ค.)คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง นำร่างกฎหมายให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ซึ่งผลการประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบตามมติของกรรมาธิการร่วม คือ 6 ประเด็นที่ กกต. เห็นแย้ง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยมติ สนช. 194 เสียงเห็นชอบร่างกฎหมาย และงดออกเสียง 7 คะแนน ทำให้กกต.จะต้องถูกเซ็ตซีโร่ ทั้งชุด

ทั้งนี้กรรมาธิการชี้แจงว่า คุณสมบัติของคณะกรรมการสรรหา และ กกต. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการขยายความคุณสมบัติเพื่อให้เกิดความเป็นกลางทางการเมือง และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ระงับยับยั้งหรือให้จัดการเลือกตั้งใหม่ และการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สืบสวนและไต่สวน เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่เพิ่มขั้นตอนที่สอดรับกับบทบัญญัติ และเพื่อให้เกิดผลจริงในการดำเนินงานนั้น หลัง กกต. แต่ละบุคคลระงับยับยั้ง หรือให้จัดการเลือกตั้งเขตใดๆใหม่ จะต้องแจ้งที่ประชุมทันที หรือ การให้อำนาจเจ้าหน้าในการสอบสวน เพื่อให้สอดรับกับอำนาจไต่สวนของ กกต. ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนประเด็น เซ็ตซีโร่ ที่ กกต. เห็นแย้งว่าขัดต่อหลักนิติธรรม และกระทบต่อมาตรฐานการออกกฎหมายองค์กรอิสระอื่นๆในอนาคต กรรมาธิการเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า จำเป็นต่อการปรับโครงสร้างใหม่ของ กกต. จาก 5 เป็น 7 คน และมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติ

ขณะเดียวกันนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. เผยว่ามีแนวโน้มว่าอาจจะส่งกฎหมายฉบับนี้ให้กับศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนร่างกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนช.มีมติเห็นชอบในวาระที่ 3 ซึ่งข้อเห็นแย้งของ สนช. ในมาตรา 26 และ 27 เรื่องการให้ความเป็นธรรมกับจำเลย หากศาลใช้อำนาจพิจารณาคดีความลับหลังจำเลย และกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อการยอมรับจากประเทศต่างๆในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะถูกบันทึกเป็นข้อสังเหตุเพื่อเสนอต่อ กรธ. และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำรายงานความเห็นต่อไป และหาก สนช. ส่งร่างกฎหมายที่ผ่านวาระ 3 นี้ให้องค์กรดังกล่าวจะให้เวลา 10 วันในการทำความเห็นว่าจะตั้งกรรมาธิการร่วม เหมือนกฎหมาย กกต. หรือไม่

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog