ไม่พบผลการค้นหา
การรถไฟฯ ชี้แจงกรณีการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ที่ล่าช้ากว่ากำหนดและงบประมาณบานปลาย เพราะมีการปรับรูปแบบ แก้ไขสถานี เพิ่มโครงสร้างทางวิ่ง และมีการปรับราคาให้เป็นปัจจุบัน

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณีการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ที่ล่าช้ากว่ากำหนดและงบประมาณบานปลาย เพราะมีการปรับรูปแบบ แก้ไขสถานี เพิ่มโครงสร้างทางวิ่ง และมีการปรับราคาให้เป็นปัจจุบัน

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวประเด็นการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ที่ล่าช้ากว่ากำหนดเวลาและงบประมาณบานปลาย โดยมีรายละเอียดข้อเท็จจริง ดังนี้

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 งบประมาณลงทุน จำนวน 59,888 ล้านบาท โดยมีเนื้องานครอบคลุมงานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่ารื้อย้าย ค่าจ้างที่ปรึกษา และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด โดยไม่รวมถึงการจัดซื้อขบวนรถ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 มติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 75,548 ล้านบาท เนื่องจาก JICA กำหนดเงื่อนไขในการให้เงินกู้โดยให้รวมค่างานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าเข้าไปด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีขบวนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแก่ประชาชน อีกทั้งการออกแบบงานระบบอาณัติสัญญาณ การควบคุมการเดินรถ ระบบจ่ายไฟฟ้า และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง สอดคล้อง เป็นระบบที่สัมพันธ์กับผู้ผลิตรถตู้ไฟฟ้า และ ปัจจุบันแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่

1. สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างงานโยธาสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง
2. สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต
3. สัญญาที่ 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ภายหลังจากที่ประกวดราคาครบทั้ง 3 สัญญา มติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นอีก จำนวน 93,950 ล้านบาท (โดยแยกเป็นช่วงบางซื่อ-รังสิต 88,003 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 5,947 ล้านบาท) เนื่องจากการปรับราคาให้เป็นปัจจุบัน ณ ช่วงเวลาที่ประกวดราคา และการแก้ไขแบบรายละเอียด ซึ่งประกอบด้วยงานหลัก ๆ ดังนี้

1. การปรับรูปแบบสถานีกลางบางซื่อ ทั้งในส่วนของการปรับรูปแบบชานชาลา การแก้ไขแบบสถานี การเพิ่มโครงสร้างทางวิ่ง และการปรับแนวเส้นทางการเดินรถของโครงการระบบขนส่งมวลชนฯ (สายสีแดง) ให้สอดคล้องกับแนวเส้นทางรถไฟประเภทต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. การแก้ไขแบบทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเพิ่มจาก 3 ทางวิ่ง เป็น 4 ทางวิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ และปรับโครงสร้างความกว้างของสถานีรายทาง

สำหรับประเด็นที่มีข่าวเกี่ยวกับ การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้บริษัทเอกชนเป็นจำนวนเงิน 800 ล้านบาท เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้ากว่ากำหนด นั้น ขอเรียนว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่ผู้รับจ้างที่ขอชดเชยจากการขยายอายุสัญญาเนื่องจากการปรับรูปแบบการก่อสร้าง และการติดขัดการรื้อย้ายท่อน้ำมันบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา ยังไม่ได้มีการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้รับจ้างแต่อย่างใด ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ การรถไฟฯ จะดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขออนุญาตใช้พื้นที่ที่มีการส่งมอบล่าช้าต่อไป

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog