ไม่พบผลการค้นหา
'พิชัย นริพทะพันธุ์' ชื่อนี้ปรากฏตามสื่อต่างๆรายสัปดาห์ ออกมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจในระดับประเทศ ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ เป็นเพราะอะไร?

'พิชัย นริพทะพันธุ์' ชื่อนี้ปรากฏตามสื่อต่างๆรายสัปดาห์ ออกมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจในระดับประเทศ ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ เป็นเพราะอะไร?

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 60 'ดุสิตโพล' เผยผลสำรวจ ประชาชนหนุนให้มีการวิจารณ์รัฐบาลของนักการเมืองได้ อย่างมีเหตุมีผลนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง เพื่อประชาชนได้รับข้อมูลเพิ่มได้แง่คิดมุมมองที่หลากหลาย 

การวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอแนะการทำงานให้กับรัฐบาล มักมีให้เห็นอยู่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในแง่บวกหรือแง่ลบ เป็นสิ่งที่ระบอบประชาธิปไตยสามารถทำได้ แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่อยู่ให้เห็น

หากลองนึกย้อนดูคงหนีไม่พ้น 'พิชัย นริพทะพันธุ์' อดีตรมว.พลังงาน และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ที่เป็นข่าวรายสัปดาห์ เป็นบุคคลที่กล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจตามหน้าสื่อต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อถามกับนายพิชัยว่าทำไมต้องออกมาพูดถึงประเด็นเศรษฐกิจ นายพิชัย กล่าวว่าเรื่องนี้พูดมากว่า 3 ปีแล้ว แต่ในสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้หลายคนหันมาสนใจในเรื่องเศรษฐกิจกันเพิ่มมากขึ้น ช่วงแรกๆที่ออกมาพูดจะไม่มีคนเชื่อเท่าไหร่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ทุกวันนี้กลับมาความชัดเจนมากขึ้น ผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น และเรื่องต่างๆที่ออกมาพูดก็มักจะเป็นเรื่องจริง

หากย้อนไปดูโพลจากสวนดุสิตโพลพบว่าประชาชนคิดอย่างไรกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนักการเมือง มีทั้งแง่บวกและลบ ควรรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นสิทธิที่ทำได้  มีข้อเสนอแนะที่มีเหตุผล นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้ทำมาตลอด โดยการนำข้อมูลจากสาธารณะ ข้อมูลจากรัฐบาล ข้อมูลจากต่างประเทศที่พิสูจณ์ได้ขึ้นมาวิจารณ์

ในอดีตจนถึงปัจจุบันการวิจารณ์เศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ทำมากันโดยตลอดในทุกประเทศ สำนักข่าวต่างๆ มหาวิทยาลัยต่างๆก็ออกมาวิจารณ์กันเป็นเรื่องปกติ เพื่อเป็นการย้ำเตือนว่ารัฐบาลดำเนินการมานั้นถูกหรือผิด มีการทวงติง ซึ่งรัฐบาลควรจะดีใจด้วยซ้ำว่ามีคนมาคอยเตือนอยู่เสมอ 

และที่สำคัญที่ผ่านมาการวิจารณ์ออกมา ผลที่เกิดขึ้นก็ตรงกับที่ได้พูดเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว อย่างตัวเลขนักลงทุนที่หดหายที่มีตัวเลขชัดเจนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI 

"เรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ใส่ร้ายกันไม่ได้ มีตัวเลขและเงินในกระเป๋าของประชาชนเป็นตัววัด ถ้าประชาชนมีความสุข มีเงินในกระเป๋า แต่ออกมาพูดว่าเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนก็คงไม่รับฟัง ในภาวะที่กระแสโซเชียลด้านอื่นๆมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน" นายพิชัย กล่าว

นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องใกล้ตัว ประชาชนจึงให้ความสนใจและมีการขยายวงและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากขึ้น

เมื่อถามว่ามีการติดตามข้อมูลข่าวสารบ้านเมืองทางด้านใดบ้าง และการนำเอาตัวเลขข้อมูลต่างๆมานำเสนอ นายพิชัยระบุว่าอ่านจากหนังสือพิมพ์ ดูจากเว็บไซต์ และประกาศของกระทรวงต่างๆ และจากต่างประเทศด้วย มีการทำการบ้านตลอด เป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิง และมาประมวลเพื่ออธิบายให้ประชาชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา ยังยืนยันไม่มีวงในที่ไหน เพราะข้อมูลต่างๆที่ออกมาเป็นข้อมูลโดยตรงจากรัฐบาล และจากการที่ทำการบ้านมาเยอะ ดูในรายละเอียดเยอะ และเป็นการวิเคราะห์ที่ยึดตามแนวโมเดลจากต่างประเทศ

เมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจกับรัฐบาล ทำไมต้องเป็น 'พิชัย' ฉายเดียวเสมอ นายพิชัยระบุว่าจริงๆก็มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งรวมถึงมีนักวิชาการหลายคนออกมาพูดแล้ว แต่ที่คนมาสนใจผมคิดว่าผมพูดมาตลอดด้วยเหตุด้วยผล และจากการที่คาดการณ์การออกมาถูกต้องตลอด รวมถึงสื่อให้ความสนใจด้วย แต่การให้ข่าวอย่างเป็นประจำ ถือเป็นการให้ความรู้ประชาชนด้านเศรษฐกิจที่เข้าใจง่าย โดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นเพื่อให้ประเทศเจริญมากขึ้นด้วย

หลายครั้งที่ถูกเรียกตัวเข้าปรับทัศนคติแล้ว ยังมีคนสายตรงมาห้ามปราบบ้างหรือไม่ นายพิชัยบอกว่าบางครั้งก็มีคนมากระซิบหรือโทรมาบอกบ้าง แต่ยืนยันในสิ่งที่พูดออกไปนั้นเป็นความจริง และอธิบายให้ฟังว่า หากไม่มีใครเตือนกันประเทศก็จะเผชิญในเรื่องแบบนี้ และจะเกิดปัญหาภายในอนาคตต่อไป ไม่ใช่ปล่อยให้ประเทศแย่ไปกว่านี้แล้วมาว่าว่าไม่มีใครเตือนกันก็ไม่น่าจะใช่ อย่างน้อยก็มีพิชัยคนนึงที่กล้าออกมาเตือนว่าประเทศกำลังเจอปัญหาในด้านใดบ้าง

'พิชัย นริพทะพันธ์' ไปรายงานตัวและเข้าปรับทัศนคติ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2558

อย่างไรก็ตามนายพิชัยย้ำที่จะเสนอแนะรัฐบาลในประเด็นเศรษฐกิจต่อไป ถ้ามีโอกาสที่เหมาะสม อะไรที่ควรเตือนก็จะต้องเตือนกัน และรัฐบาล รวมถึงรัฐบาลในอนาคตก็ควรเปิดใจรับฟัง
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog