ไม่พบผลการค้นหา
จากนี้ไป ถนนสาธุประดิษฐ์,สาทรและนางลิ้นจี่ จะปลอดสายไฟฟ้า เพราะขณะนี้ กฟน.กำลังนำสายไฟฟ้าอากาศลงสู่ใต้ดิน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากเส้นทางดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่จะปลอดสายไฟฟ้า ในขณะเดียวกันกรุงเทพและปริมณฑลอาจไม่ใช่เมืองไร้สาย 100%

จากนี้ไป ถนนสาธุประดิษฐ์,สาทรและนางลิ้นจี่ จะปลอดสายไฟฟ้า เพราะขณะนี้ กฟน.กำลังนำสายไฟฟ้าอากาศลงสู่ใต้ดิน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากเส้นทางดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่จะปลอดสายไฟฟ้า ในขณะเดียวกันกรุงเทพและปริมณฑลอาจไม่ใช่เมืองไร้สาย 100%

3 เมืองหลัก ทั้ง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พื้นที่รวมกันมีไม่ถึง 1% แต่มีสถิติการใช้ไฟฟ้าคิดเป็น 30 % ของคนทั้งประเทศ ปี 2559 มียอดใช้ไฟสูงสุด 9,297 เมกะวัตต์ นี่คือหนึ่งในดัชนีสำคัญ ที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินเป็นการเร่งด่วน

เพราะในเขตเมืองที่หนาแน่น และใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เสาไฟ 1 ต้นไม่สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟที่มากขึ้นได้ ความแออัดของสายไฟ จะสร้างความเสี่ยงเรื่องไฟฟ้าดับ สิ่งที่ตามมาคือความไม่มั่นคงของระบบไฟฟ้า นั่นหมายถึงความไม่มั่นคงของระบบสังคมและเศรษฐกิจด้วย  

การไฟฟ้านครหลวง  นำสายไฟลงดินมาตั้งแต่ 2527 และทำต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน จนถึงเดือนมิถุนายน 2560  มีการรื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าเสร็จแล้วหลายโครงการ รวมระยะทาง 41.9 กิโลเมตร  จากแผนทั้งหมด 172.7 กิโลเมตร ทำให้ในปีที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟฟ้าดับน้อยลงลดลง 5.19% 

แต่จากการสำรวจของเราพบว่า ในบางเส้นทางอย่างย่านศูนย์ค้า ดิเอ็มโพเรียม ที่ปัจจุบันสายไฟฟ้าลงดินแล้ว เรายังพบสายสื่อสารอยู่บนอากาศ สถานการณ์นี้ เกิดขึ้นซ้ำในหลายพื้นที่ 

เมื่อเรามาดูค่าเช่าของสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า พบว่าสายสื่อสาร 1 เส้น เสียค่าเช่าการวางสายบนเสาไฟ อยู่ที่เดือนละ 40-50 บาท ต่อกิโลเมตร ส่วนค่าเช่าท่อสายสื่อสารใต้ดิน อยู่ที่ 25,000 บาทต่อเดือน   ค่าเช่านี้สามารถบรรจุสายสื่อสารได้จำนวนมาก ผู้ให้เช่ามีทั้ง กฟน. ทีโอที และ CAT    

สอดคล้องกับต้นทุนการติดตั้งสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร เทียบกันระหว่างแบบเดิมและแบบลงดิน พบว่า ต้นทุนการลากสายไฟฟ้าบนอากาศ อยู่ที่หลักสิบล้านบาทต่อกิโลเมตร ส่วนต้นทุนการก่อสร้างใต้ดินอยู่ที่ 300-400 ล้านบาทต่อกิโลเมตร  

ที่ผ่านมา กฟน. นำเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน"ทำไป เรียนรู้ไป" หรือ Pilot Project คือไม่มีการว่าจ้างที่ปรึกษา ทำให้ดำเนินงานล่าช้า 33 ปี  ทำได้แค่ 40 กิโลเมตร

สิ่งที่ทำให้แผนนำสายไฟฟ้าลงดินเดินหน้าได้เร็วขึ้น คือ  "ภาพเดียวเปลี่ยนชีวิต" ของบิลเกตส์  เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ที่ทำให้คนทั้งโลกเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่อการพัมนาประเทศแค่ไหน  รัฐบาลไทยสั่งเร่งโครงการเร็วขึ้นจาก 10 ปีเหลือเป็น 5 ปี ตั้งแต่ปี 2559 - 2564  กฟน.จึงมีการจ้างที่ปรึกษาที่มีความพร้อมมาดำเนินการ    

ปัจจุบัน กฟน.กำลังดำเนินการนำเอาสายไฟลงดินใน 5 พื้นที่ได้แก่  จิตรลดา ปทุมวัน พญาไทส่วนเพิ่มเติม, นนทรี,พระราม3,รัชดาภิเษก - อโศก และรัชดาภิเษก-พระราม 9 โดยเลือกพื้นที่ดำเนินการตั้งแต่ รอบพระราชวัง พื้นที่ เศรษฐกิจ หรือตามแนวรถไฟฟ้า

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog