ไม่พบผลการค้นหา
การก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทางรวม 106 กิโลเมตร มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 50 รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ชี้ช่วยเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ได้ตรงเวลา พร้อมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี     

การก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทางรวม 106 กิโลเมตร มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 50 รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ชี้ช่วยเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ได้ตรงเวลา พร้อมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี     

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่แบ่งออกเป็น 2 สัญญา ขณะนี้ในภาพรวมมีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 50 
        
โดยสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่พร้อมทางเลี่ยงเมือง 3 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา แก่งคอย ภาชี ทำได้เร็วกว่าแผนร้อยละ 23 ส่วนสัญญาที่ 2 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงสถานีวิหารแดง-บุใหญ่ และอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย  แม้จะช้าไปกว่าแผน แต่งานส่วนที่ยากที่สุดคือการเจาะทะลุอุโมงค์ใต้ภูเขาเพื่อเพิ่มทางวิ่งรถไฟอีกเส้น ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว  

ดังนั้น จึงมั่นใจว่า ภาพรวมการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้ง 2 สัญญาจะแล้วเสร็จตามกำหนด ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเป็นเส้นทางต่อเชื่อมสำหรับการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงไปสู่แหลมฉบัง -มาบตาพุด รองรับอีอีซีสำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางนี้ ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 11,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 กำหนดระยะเวลาโครงการก่อสร้าง 36 เดือน มี 2 สัญญา โดยสัญญาแรก งบประมาณก่อสร้างกว่า 9,000 ล้านบาท มีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา สัญญาที่สอง งบประมาณก่อสร้างกว่า 400 ล้านบาท มีบริษัท ไร้ท์ทัลเน็ลลิ่ง จำกัด เป็นคู่สัญญา ดำเนินการก่อสร้างรถไฟช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ และอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย

ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง กล่าวหลังจากร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการฯ ว่า โครงการนี้เป็น 1 ใน 7 โครงการรถไฟทางคู่ที่คณะกรรมการฯ ติดตามดูแล ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 สาย ส่วนอีก 5 สายอยู่ระหว่างรอกระบวนการประมูล อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ครั้งนี้ จะได้นำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 5 สายด้วย 

ส่วนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน งบประมาณ 16,066 ล้านบาท  รฟท. จะเปิดรับซองประกวดราคาวันสุดท้าย ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ และจะใช้เวลาพิจารณา 2 สัปดาห์ ก่อนแจ้งผลผู้มีสิทธิ์ประมูลโครงการในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ 
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog