ไม่พบผลการค้นหา
IMD จัดอันดับความสามารถการแข่งขันของไทยดีขึ้น จากอันดับ 28 มาอยู่ที่ 27 ครองอันดับ 3 ของกลุ่มอาเซียน หลังเดินหน้าแก้ไขอุปสรรค ปรับปรุงกฎหมาย การพัฒนาโครงการอีอีซี หวังปี 2561 อันดับจะดีขึ้นต่อเนื่อง   

IMD จัดอันดับความสามารถการแข่งขันของไทยดีขึ้น จากอันดับ 28 มาอยู่ที่ 27 ครองอันดับ 3 ของกลุ่มอาเซียน หลังเดินหน้าแก้ไขอุปสรรค ปรับปรุงกฎหมาย การพัฒนาโครงการอีอีซี หวังปี 2561 อันดับจะดีขึ้นต่อเนื่อง   

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน TMA (TMA Center for Competitiveness)  รายงานว่า สถาบัน IMD (International Institute for Management Development) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2560 พบว่า ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งขยับขึ้นจากอันดับ 28 มาอยู่ที่ 27 จากทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก โดยฮ่องกงยังครองอันดับ 1 รองลงมาอันดับ 2 คือสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่สิงคโปร์ เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 3 และสหรัฐอเมริกา ตกไปเป็นอันดับที่ 4

การประเมินในปี 2560 ผลการจัดอันดับของไทยดีขึ้น ทั้งคะแนนและอันดับ โดยได้รับคะแนนภาพรวมเพิ่มขึ้นเป็น 80.095 จาก 74.681 ในปี 2559 ทำให้การประเมินครั้งล่าสุด อันดับเลื่อนขึ้นจาก 28 เพิ่มเป็น 27 

ในขณะที่ 5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ อันดับ 1 สิงคโปร์ ได้รับคะแนน 85 คะแนน อันดับ  2 มาเลเซีย 83 คะแนน อันดับ 3 ไทย 80 คะแนน แซงหน้าฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียแล้ว โดยไทย ยังครองอันดับที่ 3  สะท้อนความพยายามของรัฐบาล ภาครัฐ เอกชน ร่วมขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ทั้งนี้ การจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของ IMD มีการพิจารณา 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) , ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) , ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) , และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งสาเหตุที่ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับดีที่สุด คือ สภาวะเศรษฐกิจ อยู่ในอันดับ  10 เพิ่มจากอันดับ 13 , ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 23 มาเป็นอันดับ 20 ส่วนปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับคงเดิม โดยอยู่ที่ 25 และ 49 ตามลำดับ

TMA มองว่า ผลการจัดอันดับครั้งนี้ เป็นการยืนยันว่าการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้น เมื่อรัฐบาลแก้ไขปัญหาหลายด้าน ทั้งอุปสรรคด้านข้อกำหนดกฎหมาย การอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ การเดินหน้าพัฒนาโครงการอีอีซี ทั้งด้านวิจัย นวัตกรรม การพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ จะเพิ่มอีกจำนวนมาก ทำให้ในปี 2561 การจัดอันดับจะดีขึ้นต่อเนื่อง   

ด้านนางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ผลการจัดอันดับ ชี้ว่าสมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้น ทำให้เห็นทิศทางเศรษฐกิจระดับมหภาคว่าส่งสัญญาณดีขึ้น และการปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายธุรกิจ ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจที่มีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น อาทิ การเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ การขออนุญาตเรื่องไฟฟ้า ประปา พิธีการด้านศุลกากรสำหรับการค้าขายข้ามพรมแดน นักธุรกิจจึงเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ และยังเชื่อมั่นต่อความสามารถในการบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาลมากขึ้น ด้วย 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog