ไม่พบผลการค้นหา
ทนายความของนายอานดี ฮอลล์ นักสิทธิด้านแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ เตรียมยื่นฟ้องคดีต่อเจ้าพนักงานและบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต กรณีถูกฟ้องดำเนินคดีหลังให้สัมภาษณ์และเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ 

ทนายความของนายอานดี ฮอลล์ นักสิทธิด้านแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ เตรียมยื่นฟ้องคดีต่อเจ้าพนักงานและบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต กรณีถูกฟ้องดำเนินคดีหลังให้สัมภาษณ์และเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ 

ทนายความของนายอานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยและนักกิจกรรมชาวอังกฤษด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ เตรียมยื่นฟ้องรักษาการแทนอัยการสูงสุด อัยการ 9 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโส1นาย ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เขตดุสิต กรุงเทพฯ ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม กรณีพิจารณาคดีนายฮอลล์ ถูกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทโดยบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทและผลิตส่งออกสับปะรดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังเขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลจาซีราในเมียนมา เรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทำให้เขาถูกยึดหนังสือเดินทางระหว่างการพิจารณาคดี 

หลังจากนั้น ทนายความของนายฮอลล์ จะยื่นฟ้องบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต และตัวแทนในนามบริษัทอีก 4 คน  กรณีคุกคามทางกฎหมาย เพราะนอกจากคดีหมิ่นประมาทแล้ว บริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต จำกัด ยังได้ฟ้องนายฮอลล์ ฐานการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ หลังนายฮอลล์เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติของหลายบริษัท โดย 1  ในนั้นคือบริษัทเนเชอรัลฟรุ๊ต ทำให้เขาถูกศาลอาญาตัดสินให้รับโทษจำคุกรอลงอาญา 3 ปีและจ่ายค่าปรับ 150,000 บาท เมื่อเดือนกันยายน ปี 2016 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าข้อหาหมิ่นประมาทที่เกิดจากการให้สัมภาษณ์ ศาลฎีกาจะสั่งยกฟ้องไปแล้ว แต่นายฮอลล์ระบุว่า เขาจำเป็นต้องปกป้องตัวเองจากการดำเนินคดีที่ปราศจากความยุติธรรม และเป็นตัวอย่างให้กับเหยื่อแรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิ เนื่องจากหลังจากที่เขาถูกศาลอาญาตัดสินให้รับโทษจำคุกรอลงอาญา นักสิทธิมนุษยชนของไทยและทั่วโลก รวมถึงแรงงานข้ามชาติได้บอกกับเขาว่า กังวลที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน

เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจแรงานต่างด้าวในไทย สถิติการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากภายในสองปีที่ผ่านมา โดยนายฮอลล์กล่าวว่า บทบัญญัติในกฎหมาย ได้ถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชนเพื่อปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักข่าว  ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก

ด้านนางซอนญา วาร์เทียร์ลา ผู้อำนวยการองค์กรฟินน์วอชท์ ซึ่งเป็นองค์กรสัญชาติฟินแลนด์ที่สนับสนุนงานวิจัยเรื่องสิทธิแรงงานของนายฮอลล์กล่าวว่า การคุกคามทางกฎหมายอย่างไม่หยุดยั้งต่อนายฮอลล์ ซึ่งปัจจุบันดำเนินมาเข้าปีที่ 5 ควรยุติลงได้แล้ว ขณะเดียวกัน เป็นหน้าที่ของภาคธุรกิจและรัฐบาล ที่จะหยุดยั้งการคุกคามทางกฎหมายต่อนักสิทธิมนุษยชน เพราะการทำงานของนักวิจัยเช่นนายฮอลล์เกี่ยวกับการทำงานในระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เป็นประโยชน์สำหรับบริษัทที่เข้ามาซื้อขายในไทย

ภาพ: Saw Naung

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog