สะท้อนห้องเรียน STEM กับ ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ในฐานะผู้ส่งเสริมการปฏิรูปห้องเรียน STEM ในไทย
ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน
ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ในฐานะผู้ส่งเสริมการปฏิรูปห้องเรียน STEM ในไทย
ตอบ : การปฏิรูปการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย อาจจะไม่สามารถระบุได้ว่าครบวงจร ในมุมมองส่วนตัวประเทศไทยทำได้ดีมากในการถ่ายทอดองค์ความรู้ นักเรียนมีความแม่นยำในการรู้และเข้าใจองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่การจะเปลี่ยนให้เยาวชนไทยก้าวไปเป็นพลเมืองโลกจำเป็นต้องทำให้เยาวชนมีทักษะในการเชื่อมโยมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสุข
ตอบ :การศึกษา STEM จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบความคิดของเยาวชนให้มีเหตุผลในการตัดสินใจด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของทุกสาขาวิชา มิใช่เฉพาะอาชีพทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาหรือความชำนาญทางศิลปะ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หากได้รับความรู้และเข้าใจ STEM อย่างถ่องแท้จะสามารถทำให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและลดปัญหาการขาดแคลนลงไปได้ จนสุดท้ายจะไม่ยากต่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ตอบ : ห้องเรียนไทย ยังไม่พร้อมในประเด็นของกิจกรรม และเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน จนนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า STEM ไม่ใช่สิ่งพิเศษ ไม่จำเป็นต้องใช้ครูพิเศษ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ หรือ กิจกรรมพิเศษ ทว่า STEM ควรจะเป็นห้องเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียนมากที่สุด โดยครูเป็นผู้สนับสนุนทางการเรียนรู้ เท่านั้น
ตอบ : ครูไทยมีความพร้อมมากในด้านองค์ความรู้ แต่อาจจะต้องปรับมุมมองและรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้เรียนสนใจและต้องการ ครูจะต้องไม่ใช่เพียงผู้เก่ง และสอนหนังสือเก่ง แต่ทว่าครูในยุคดิจิตอลจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดความสนุก เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนว่า STEM สามารถนำมาใช้ได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน เดินไปที่ไหนก็สามารถเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยแว่นตาที่เรียกว่า STEM ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ครูยุค digital จะต้องบอกให้ได้ว่าวิธีการสอนที่ทำอยู่นั้นอกจากจะทำให้เกิดการเรียนรู้แล้วยังเป็นวิธีการที่ Computer ไม่สามารถทำได้ นั่นจึงจะเป็นสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จ
ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน สรุปเรื่องนี้ ว่าวิธีการเรียน STEM ต้องแตกต่าง สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเรียนรู้ที่ computer ไม่สามารถทำได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น STEM ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเลย แต่เป็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน เพียงแต่วิธีการเรียนจะทำให้เกิดการประยุกต์หลักการ องค์ความรู้อย่างมีขั้นตอน ดังนั้นครูและรูปแบบวิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และสองประการนี้จำเป็นที่จะต้องทำให้แตกต่างจากสิ่งที่ computer ทำได้
ด้วยเหตุผลนี้จะฝากมุมมองไว้ว่า computer ให้ความรู้ และสร้างแรงจูงใจได้ในลักษณะเสมือนจริง ขณะที่ครูสามารถสร้างได้ทั้งแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจผ่านการร้อยเรียงความคิดสู่ภาษาที่สื่อสารได้อย่างมีอรรถรส ด้วยเหตุนี้ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของครู STEM คือการคิดค้นนวัตกรรมหรือรูปแบบการสอนที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโลยีของประเทศไทยอย่างยิ่งใหญ่ ยาวนาน และยั่งยืน