ไม่พบผลการค้นหา
แพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เตือนช่วงมรสุมทำให้มีแมงกะพรุน เริ่มระบาดในประเทศไทยแล้ว หากถูกพิษใช้น้ำส้มสายชูราดต่อเนื่อง 30 วินาที ก่อนส่งแพทย์

แพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เตือนช่วงมรสุมทำให้มีแมงกะพรุน เริ่มระบาดในประเทศไทยแล้ว หากถูกพิษใช้น้ำส้มสายชูราดต่อเนื่อง 30 วินาที ก่อนส่งแพทย์

รศ.ดร. แพทย์หญิง ลักขณา ไทยเครือ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เริ่มพบแมงกระพรุนที่มีพิษรุนแรงถึงขั้นทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงมรสุมหรือหลังฝนตกแต่ไม่ใช่พายุ  โดยแมงกะพรุนที่น่ากลัวและมีพิษรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้มีอยู่ 2 ชนิด คือแมงกะพรุนกล่อง และแมงกะพรุนหัวขวด ลักษณะของแมงกะพรุนจะมีลักษณะลำตัวใส แมงกะพรุนกล่องจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนกล่องมีมุม 4 มุม ถ้าตามมุมมีสายยาวออกมา 1 เส้นจะเรียกว่า สายเดียว หรือสายเดี่ยว ถ้าหากตามมุมมีสายออกมาหลายเส้น เรียกว่าหลายสาย โดย 2 ชนิดนี้จะมีความเร็วในการแพร่พิษต่างกันและมีอาการต่างกัน ซึ่งในประเทศไทยจากการสำรวจแมงกะพรุนที่ทำให้เสียชีวิตได้��ละเสียชีวิตมาแล้วหลายราย คือ แมงกะพรุนหลายสาย ซึ่งแมงกะพรุนชนิดนี้ สามารถว่ายน้ำได้โดยที่สายบนลำตัวของแมงกะพรุนจะมีกระเปาะพิษใช้ในการจับสัตว์เล็กประเภท กุ้ง ปลา เป็นอาหาร โดยพบมากบริเวณชายหาดที่มีลักษณะน้ำเรียบๆใสๆ หรือหลังฝนตก ซึ่งถ้าผิวหนังไปสัมผัสและโดนพิษประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์โอกาสเสียชีวิตมีสูง แล้วจะมีอาการปวดมากถ้าโดนในปริมาณเยอะๆจะหมดสติและสลบอยู่หน้าชายหาด หัวใจจะหยุดเต้น ต้องช่วยด้วยการปั๊มหัวใจเบื้องต้น 

โดยแมงกะพรุนกลุ่มนี้หากโดนพิษห้ามได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การขูด-ถู หรือนำวัสดุไปขยี้หรือทา เพราะจะทำให้พิษแพร่กระจายเร็วขึ้น ซึ่งถ้าหากพบผู้ป่วยที่ได้รับพิษบริเวณหน้าชายหาดจะต้องใช้น้ำส้มสายชูกลั่นที่ใช้บริโภคนำมาเทราดอย่างต่อเนื่อง 30 วินาที ซึ่งน้ำส้มจะไปทำหน้าที่ระงับไม่ให้กระเปาะพิษของแมงกะพรุนยิงพิษแพร่กระจายเพิ่ม แต่ไม่ใช่การแก้พิษ ส่วนพิษที่เข้าไปในร่างกายแล้ว ก็ต้องนำส่งโรงพยาบาล 

ทั้งนี้ คำเตือน เมื่อพบว่าตนเองถูกพิษ หรือพบนักท่องเที่ยวถูกพิษห้ามใช้น้ำแข็ง น้ำเปล่า เหล้า โซดา หรือ อื่นๆไปเทราดเป็นอันขาด เพราะจะทำให้พิษยิ่งแพร่กระจายมากขึ้น วิธีการป้องกันคือการใส่เสื้อผ้าชุดว่ายน้ำแขน-ขายาวห่อหุ้มร่างกายให้มิดชิด ซึ่งจะช่วยป้องกันได้ 

 

Source : innnews

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog