ไม่พบผลการค้นหา
หลายคนที่เคยได้ไปสัมผัสเมืองเชียงใหม่ อาจได้รับทั้งประสบการณ์ดี-ไม่ดีเกี่ยว "รถแดง" ยานพาหนะไม่ประจำทางคู่เมือง แล้วคุณคิดอย่างไรกับ "สี่ล้อแดง"

หลายคนที่เคยได้ไปสัมผัสเมืองเชียงใหม่ อาจได้รับทั้งประสบการณ์ดี-ไม่ดีเกี่ยว "รถแดง" ยานพาหนะไม่ประจำทางคู่เมือง แล้วคุณคิดอย่างไรกับ "สี่ล้อแดง"

 

กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์ในรอบ 2 วันที่ผ่านมาเกี่ยวกับ "รถแดง" หรือ "สี่ล้อแดง" จังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งในกรณีมีคลิปที่เป็นไวรัลโดยการให้เรียกรถแดงไปส่งยังที่หมายต่างๆ ทั้งคนไทย-คนท้องถิ่น-ชาวต่างชาติ ซึ่งได้ราคาที่แตกต่างกัน

และอีกข่าวหนึ่งคือการที่ กลุ่มแท็กซี่และรถแดงจังหวัดเชียงใหม่ ยืนหนังสือถึงนายชาญชัย กีฬาแปง ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อปราบปรามผู้ให้บริการรถรับส่งสาธารณะผ่านแอพพลิเคชั่น Uber และ Grab Taxi โดยอ้างว่าเป็นธุรกิจผิดกฎมาย  แล้วคุณล่ะมีประสบการณ์เกี่ยวกับรถแดงอย่างไรบ้าง? 

 

รู้จัก "รถแดง" พาหนะคู่เมืองเชียงใหม่

กำเนิดของรถแดงนั้นย้อนไปถึงมากกว่า 40 ปีก่อน ซึ่งก่อนจะเกิดรถแดงในเชียงใหม่เองมีรถวิ่งในหมวด ร. โดยจดทะเบียนกับกรมตำรวจให้บริการแบบรถแท็กซี่วิ่งภายในตัวเมือง  จุดเปลี่ยนของรถแดงคือในปี 2518 หลังจากมีการโอนอำนาจจากกรมตำรวจไปให้กรมขนส่งทางบกดูแล ทำให้กลุ่มผู้ขับรถรับจ้างรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา

"สหกรณ์นครล้านนาเดินรถ จำกัด" มีการยื่นขอจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งสหกรณ์บริการ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และได้มีการขอโอนรถดังกล่าวขึ้นตรงกับกรมขนส่งทางบก ทางสหกรณ์จึงได้กำหนดสีของรถวิ่ง รับส่งภายในตัวเมืองเชียงใหม่เป็นสีแดงทั้งหมดตามเงื่อนไข จึงเกิด "รถแดง"ขึ้น  และได้ยื่นขออนุญาตประกอบการและขออนุญาตสัมปทานเส้นทางในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวน 21 เส้นทางเส้นทางปัจจุบันมีจำนวน 21 เส้นทาง

ในปัจจุบันสำนักงาน สหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด ตั้งอยู่ เลขที่ 130 หมู่ 5 ถนน มหิดล ตำบล หนองหอย อำเภอเมือง โดยคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสมาชิกครอบครองรถ โดยเช่าซื้อเพื่อประกอบการขนส่งประจำทาง ขนส่งไม่ประจำทาง แท็กซี่มิเตอร์โดยรถขนาดเล็ก รถตู้ มินิบัส

 

การปรับตัวของเชียงใหม่ ขนส่งมวลชน VS. มาเฟีย

ความตั้งใจของเชียงใหม่เมืองท่องเที่ยวระดับประเทศแต่มีปัญหาเรื่องการขนส่งสาธารณะยังไม่ได้รับการแก้ไจ เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการรถแดงคือ "การถูกโกง - การพาอ้อม - การทิ้งผู้โดยสาร" ถึงแม้จะไม่ได้เป็นในส่วนมากแต่ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของรถแดงเชียงใหม่แย่ในสายตานักท่องเที่ยว รวมไปถึงคนเชียงใหม่เองถ้าหากมีทางเลือกจะใช้รถส่วนตัวมากกว่า

เชียงใหม่เองก็เคยพยายามผลักดันรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถประจำทางในช่วงทศวรรษ 2540 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีให้บริการน้อยเกินไป หรือเมื่อ 2 ปีก่อน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้ามาช่วยจัดวางระบบแปลงสภาพรถแดงที่สมัครใจเป็นรถขนส่งประจำทาง โดยมีการวางเส้นทางที่ชัดเจน และกำหนดราคา 10 - 15 บาท แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ประกอบการรถแดงที่เล็งเห็นว่าการวิ่งแบบเหมานั้นได้กำไรดีกว่าการวิ่งแบบประจำทาง  อิทธิพลของรถแดงสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน โดยช่วงการเกิดของแท็กซี่มิเตอร์เชียงใหม่ก็มีการกดดันไม่ให้เกิดแท็กซี่มิเตอร์ในปี 2558 โดย สหกรณ์นครล้านนาเดินรถ จำกัด ได้ทำหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ให้ถอดถอนรถแท็กซี่มิเตอร์สนามบินจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ตาม ม.34 แล้ว 32 คัน เนื่องจากนำรถไปวิ่งร่วมกับบริษัท คาร์เรนทัลเชียงใหม่ จำกัด ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมสหกรณ์ฯ 2 และ 11 ก.ย. 2558 กว่ารถแท็กซี่เชียงใหม่จะเกิดขึ้นได้ก็ใช้เวลาพอสมควร

 

UBER เขียงใหม่ทำไมถึงเกิดไม่ได้

พ.ย. 2559 Uber ได้ทดลองการขยายพื้นที่ให้บริการไปยังเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ 2 โดยค่าโดยสารเริ่มต้น 20 บาท และเริ่มเป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนเรื่องค่าโดยสารของรถแดง

แต่เนื่องจากกฎหมายของไทยยังไม่รองรับ วันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีการผนึกกำลังจกทางกลุ่มผู้ประกอบการรถแดง และแท็กซี่มิเตอร์ได้เข้าร้องกับทางขนส่งเชียงใหม่และลงพื้นที่ ยังพบการเข้ามาให้บริการในลักษณะการให้บริการเรียกรถผ่านแอพพลิเคชั่นและได้แจ้งเบาะแสมาให้ จึงได้บูรณาการกับทางตำรวจ และทหารออกตรวจบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ได้จับรถป้ายดำ Uber และ GrabCar ที่นำรถมารับจ้างเป็นรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ปรับคันละ 2,000 บาท และบันทึกประวัติผู้ขับรถผู้กระทำผิด 4 ราย ออกคำสั่งผู้ตรวจการ 1 ราย

ทางฝั่งผู้ประกอบการบริษัทเจ็ดยอดบาร์เทอร์จำกัด ผู้ถือลิขสิทธิ์ Grab Taxi เชียงใหม่ ในสหกรณ์มีจำนวนเพียง 50 คันโดยทำกับสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ จำกัด ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการถึง 4,000 เที่ยวต่อวัน แต่พอเกิด Uber เข้ามาแย่งลูกค้าทำให้รายได้ลดลง ซึ่งมีการประเมินว่ามีสมาชิก Uber เขียงใหม่ ประมาณ 1,200 คน

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมีทางเลือกให้กับคนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว ทั้งในเรื่องการปรับกฎหมายให้รองรับ Sharing Economy หรือการเปิดระบบขนส่งที่มีความเป็นไปได้เช่น รถไฟฟ้ารางเบาและรถประจำทางที่มีประสิทธิภาพ หรือจะให้รถแดงเชียงใหม่ปรับตัวเพราะเริ่มมีคนเรียกร้องใน change.org จะปรับตัวเพื่ออยู่เป็นเสน่ห์....หรือจะทำตัวผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นต่อไป?

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog