ไม่พบผลการค้นหา
 มาย้อนดูจุดเริ่มต้น ก่อนถึงวันอวสาน..รถด่วนพิเศษ 'BRT' 1 เม.ย.นี้  หลังกทม.ตัดสินใจยกเลิกโครงการ เพราะขาดทุนสะสมปีละกว่า 200 ล้าน อีกทั้งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจราจร แต่กลับเพิ่มปัญหาให้ปชช.ในเส้นทางเดินรถด้วย

มาย้อนดูจุดเริ่มต้น ก่อนถึงวันอวสาน..รถด่วนพิเศษ 'BRT' 1 เม.ย.นี้  หลังกทม.ตัดสินใจยกเลิกโครงการ เพราะขาดทุนสะสมปีละกว่า 200 ล้าน อีกทั้งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจราจร แต่กลับเพิ่มปัญหาให้ปชช.ในเส้นทางเดินรถด้วย

  

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ หรือสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT) สายนำร่องของกรุงเทพมหานคร และเป็นสายแรกของประเทศไทย เดินรถบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนพระรามที่ 3, สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร 12 สถานี โดยจัดช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติบนพื้นถนนเดิมในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นบนสะพานข้ามทางแยกและสะพานพระราม 3ที่เดินรถในช่องเดินรถมวลชน (high-occupancy vehicle/HOV lane) ร่วมกับรถยนต์ที่มีผู้โดยสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และบริเวณทางแยกบางจุดที่ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไป 

โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ในสมัยของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยงบประมาณ 1,400 ล้านบาท หลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 เริ่มก่อสร้างจริงเมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี พ.ศ. 2551-2552 แต่ได้เกิดความล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้การก่อสร้างสถานีเสร็จสมบูรณ์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากการจัดหาตัวรถหยุดชะงักไปถึง 9 เดือนภายใต้กระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมไปถึงความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ, การก่อสร้างทางเดินเชื่อมสถานีสาทรกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่องนนทรีที่แยกสาทร-นราธิวาส และการก่อสร้างช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับบีอาร์ที แต่ในภายหลังสามารถเปิดให้บริการได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โดย รถด่วนพิเศษ 'BRT'  มีขอบเขตพื้นที่ ที่ให้บริการคือ  แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร, แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา, แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
  
ความเป็นมาของโครงการ 

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550  กทม.ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถประจำทางด่วนพิเศษชิดเกาะกลางหรือบีอาร์ที ในเส้นทางนำร่อง ช่องนนทรี (สาทร) -ราชพฤกษ์ 

วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2550 กทม. กรุงเทพมหานคร ว่าจ้างบริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ เป็นที่ปรึกษาควบคุมงานโยธามูลค่า 7.5 ล้านบาท คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 8 เดือน 

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2550 บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้าง ถนนพระรามที่ 3 ด้านขาออกหน้าวัดปริวาส และถนนนราธิวาสฯ หน้า มทร. กรุงเทพ ควบคู่กับการเปิดหน้าดินบริเวณเกาะกลาง ก่อสร้างจนครบทั้ง 12 สถานี 

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้างสถานีต้นทางช่องนนทรี (สาทร) 

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 การประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดซื้อรถโดยสารบีอาร์ทีจำนวน 45 คัน วงเงิน 388,777,410 บาทไม่มีผู้สนใจเข้าร่วม 

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การประกวดราคาเพื่อจัดซื้อรถบีอาร์ทีอีกครั้ง อบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด เสนอราคา 387 ล้านบาทซึ่งต่ำกว่าราคากลางประมาณ 1 ล้านบาท 

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 กทม. ลงนามในสัญญาจัดซื้อรถกับบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด จำนวน 45 ทดลองเดินรถในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หรือต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เพื่อส่งสัญญาณให้ประชาชนตื่นตัวมาใช้บริการ พร้อมทั้งปรับแผนการเปิดให้บริการเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ให้ใช้บริการฟรี 6 เดือนไปจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2552  

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 คุณหญิงณัฐนนท ทวีสิน อดีตปลัด กทม. เข้ายื่นเอกสารหลักฐานแก่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการประกวดราคาจัดซื้อรถบีอาร์ทีของ กทม. เนื่องจากเชื่อว่ามีการฮั้วประมูล 

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 เปิดใช้สะพานเดินข้ามถนนของสถานีนำร่อง ได้แก่สถานีนราราม 3 และสถานีเจริญราษฎร์ ซึ่งก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นกลุ่มแรก 

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 มีการประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation Systems หรือ ITS) วงเงิน 389 ล้านบาท
 
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. ได้ส่งสำนวนผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ กทม. ให้กับสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัด กทม. เพื่อสรุปแนวทางดำเนินโครงการอีกครั้ง คณะกรรมการฯ สรุปว่าคุณสมบัติของผู้เสนอราคาทั้ง 2 รายคือบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ผู้ชนะการประมูลกับ บริษัท ปรินทร์ อิมพอร์ต เอ็กพอร์ต จำกัด ในวันที่ยื่นเอกสารไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน 

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ประกาศแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร เร่งรัดเปิดให้บริการเส้นทางรถบีอาร์ทีด้วย 

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 การประกวดราคาจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะครั้งที่ 2 ได้ผู้ชนะคือบริษัท ไทยทรานสมิชชั่น อินดัสทรี จำกัด ที่เสนอราคาต่ำสุด 397,500,000 บาท 
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่โครงการบีอาร์ทีทั้งหมดของ กทม. ได้หยุดชะงักไประหว่างการตรวจสอบความโปร่งใสจากกรมสอบสวนคดีพิเศษในทุกกระบวนการที่อาจมีการฮั้วประมูลเกิดขึ้น 

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญา ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีที่ยังไม่แล้วเสร็จต้องหยุดชะงักไปจนถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน 

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ผู้บริหารผทม. ลงพื้นที่ตรวจสอบเส้นทางและทดลองนั่งรถโดยสารเสมือนรถบีอาร์ที 

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 หลังจาก กทม. มีความชัดเจนว่าจะใช้วิธีเช่ารถเพื่อดำเนินโครงการ จึงได้ว่าจ้างให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารโครงการทั้งหมด วงเงิน 1,996 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี 

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 บริษัท ยูนิคฯ ชนะการประกวดราคาก่อสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีบีอาร์ทีและสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่แยกสาทร-นราธิวาส ต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 196 ล้านบาท จำนวน 300,000 บาท 

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาผู้รับจ้างเดินรถและจัดหารถบีอาร์ที 25 คัน 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 กทม. เริ่มปรับผิวจราจรและก่อสร้างช่องทางเดินรถบีอาร์ทีบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์และถนนพระรามที่ 3 

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 บีทีเอสซีได้ส่งมอบรถบีอาร์ที 2 คันจากประเทศจีนแก่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ส่วนที่เหลือจะจัดส่งมาอีกจนครบ 25 คัน ก่อนนำมาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ทันในวันที่ 15 พฤษภาคม 

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้บริหาร กทม. แถลงข่าวประชาสัมพันธ์โครงการที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยนำรถบีอาร์ทีต้นแบบ 1 คันทดลองวิ่งให้สื่อมวลชนชม 

วันที่ 3-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 23.00-5.00 น. เริ่มติดตั้งสะพานทางเดินข้ามแยกสาทร-นราธิวาส 

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เริ่มการเดินรถเพื่อทดสอบระบบขนส่งอัจฉริยะ 

วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เปิดให้บริการทดลองเดินรถบีอาร์ทีครั้งแรก โดยไม่คิดค่าโดยสารเป็นเวลา 3 เดือน 

วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ประกาศขยายเวลาเก็บค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสายออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554
 
วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ประกาศขยายเวลาเก็บค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสายออกไปอีก 1 ปี เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนหลังวิกฤตน้ำท่วม 

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556 ประกาศขยายเวลาเก็บค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสายออกไปอีก 1 ปี เพื่อลดภาะค่าใช้จ่ายในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้น 

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556 ประกาศเก็บค่าโดยสาร 5 บาทตลอดสาย และไม่เก็บค่าโดยสารกับผู้สูงอายุ คนพิการ และพระสงฆ์ 

จนล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 ที่ผ่านมา พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า กทม.ตัดสินใจยกเลิกโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที หลังดำเนินการในระยะหนึ่งแล้วพบว่าต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายปีละ 200 ล้านบาท

อีกทั้งพบว่า 'BRT'  ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจราจรที่แท้จริง แต่กลับเป็นการเพิ่มปัญหาให้ประชาชนในเส้นทางเดินรถ โดยเฉพาะบริเวณสถานีสาทร สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี และถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องจากบีอาร์ทีต้องใช้ผิวจราจร 1 เลน ร่วมกับรถยนต์ทั่วไป อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนบีอาร์ทีจนทำให้รถโดยสารด่วนพิเศษใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา 
          
จากสำรวจพบว่า มีประชาชนใช้บริการทั้งสิ้นเฉลี่ยวันละ 25,000 คน แต่ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรีในช่วงเช้า และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละประมาณ 200 ล้านบาท ตั้งแต่เปิดใช้งาน 
         
อีกทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือให้ กทม.ทบทวนโครงการ คณะกรรมการบริหารระบบขนส่งมวลชน กทม.จึงได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ได้ข้อสรุปว่าจะยกเลิกโครงการเมื่อครบสัญญาในวันที่ 1 เมษายนนี้ 
         
เบื้องต้น กทม.จะประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับผู้ใช้บริการ ให้สำนักงานจราจรและขนส่ง กทม. ประสานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถประจำทางไปวิ่งแทนบีอาร์ที คงสภาพสถานีบีอาร์ที โดยปรับเป็นป้ายรถประจำทาง และคืนผิวจราจรให้ประชาชนโดยรื้อถอนอุปกรณ์ที่อยู่บนพื้นผิวจราจรออกทั้งหมด” ในเร็วๆ นี้จะมีการพิจารณายกเลิกทางจักรยานในถนนบางสายที่เข้าข่ายก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้จักรยานและประชาชนที่เดินเท้าด้วย 

 

ลิงค์ข่าวอื่น ที่เกี่ยวข้อง 

-  นักวิชาการ ชี้ ต่อให้ BRT 0 บาท ก็แก้รถติดไม่ได้ 

เลิกบีอาร์ที ตั้งแต่ 1 เม.ย. หลังขาดทุนปีละ200 ล้านบาท 

ปรับค่าโดยสาร BRT ตามโซน เริ่ม 1 ต.ค.นี้ 

-  กทม.มั่นใจบีอาร์ที ทางเลือกที่ดีคนชานเมือง 
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
182Article
76558Video
0Blog