ส่องสถิติเหตุการณ์ภาคใต้ 59 เหตุการณ์เพิ่มขึ้น! ส่อดูงบแก้ปัญหา 10 ปี รวมแล้วกว่า 2.06 แสนล้านบาท
สถิติเหตุการณ์ชายแดนใต้ ประจำปี 2559 โดย คณะทำงานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ DEEP SOUTH INCIDENT DATABASE (DSID) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ DEEP SOUTH WATCH (DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2559)
ภาพรวมเหตุการณ์ในปี 2559 เกิดเหตุการณ์ทั้งหมด 807 ครั้ง เสียชีวิต 307 ราย บาดเจ็บ 628 ราย เกิดเหตุการณ์มากกว่าสถิติปี 2558 และ 2557 ที่เกิดเหตุการณ์ 672 และ 793 ครั้ง มีการจับกุม 64 ราย วิสามัญฆาตกรรม 16 ราย เชิญตัวมอบตัว 15 ราย ใช้ยุทธวิธีการยิงก่อเหตุมากที่สุด 370 เหตุการณ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 45.85 ของเหตุการณ์ทั้งหมด รองลงมาคือการก่อเหตุระเบิด 197 เหตุการณ์ (24.41%)
โดยผู้เสียชีวิตเป็นประชาชนทั่วไป 186 เจ้าหน้าที่ 121 ราย ประชาชนบาดเจ็บ 266 ราย เจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 362 ราย โดยเป็นผู้หญิงเสียชีวิต 24 ราย บาดเจ็บ 128 ราย ผู้ชาย เสียชีวิต 283 ราย บาดเจ็บ 500 ราย เป็นชาวพุทธ 375 ราย บาดเจ็บ 106 ราย ชาวมุสลิมเสียชีวิต 251 ราย บาดเจ็บ 188 ราย ไม่ระบุศาสนา เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 2 ราย
จังหวัดที่เกิดเหตุการณ์มากที่สุด คือจังหวัดปัตตานี 309 เหตุการณ์ เสียชีวิ 106 ราย บาดเจ็บ 259 ราย รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาส 270 เหตุการณ์ เสียชีวิต 97 ราย และบาดเจ็บ 210 ราย ยะลา 175 เหตุการณ์ เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 96 ราย และน้อยสุด จังหวัดสงขลา 53 เหตุการณ์ เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 63 ราย
โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐ (Hard Target) เสียชีวิตจำนวน 77 ราย บาดเจ็บ 281 ราย แบ่งเป็น ทหาร/อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิตมากที่สุด 27 ราย บาดเจ็บ 112 ราย รองลงมา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เสียชีวิต 17 ราย บาดเจ็บ 16 ราย ตำรวจ เสียชีวิต 16 ราย บาดเจ็บ 115 ราย อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เสียชีวิต 10 ราย บาดเจ็บ 28 ราย และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ขรบ.) อาสาสมัครรักษาหม้าน (อรบ.) อาสาสมัครป้องกนฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 10 ราย
ซึ่งผลการปฏิบัติคือสามารถควบคุมผู้ต้องกาได้จำนวน 23 ราย ผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรง จำนวน 128 รายผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต จำนวน 12 ราย ตรวจยึดอาวุธปืนจำนวน 125 กระบอก โดยเป็นอาวุธปืนของกองพันพัฒนาที่ 4 จำนวน 17 กระบอก รวมทั้งกระสุนและยุทโธปกรณ์ที่สำคัญอื่นๆอีกหลายรายการ นอกจากนี้ยังตรวจพบฐานปฏิบัติการของผู้ก่อเหตุรุนแรง 15 ฐานปฏิบัติการและเก็บกู้วัตถุระเบอดได้ จำนวน 57 ครั้ง
ในปีนี้อำเภอมีที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ คือ อำเภอนาทวี จ.สงขลา
นอกจากนี้ยังมีการรายงานถึงงบประมาณ 10 ปีในการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสิ้น “206,094 ล้านบาท” (ข้อมูลจากสำนักงบประมาณ)
ข้อมูลภาพจาก DEEP SOUTH WATCH (DSW)