“ใบตองแห้ง” แนะจับตาความขัดแย้งอันยืดเยื้อระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เป็นกรณีขององค์กรอิสระที่ไม่มีคนตรวจสอบ กับมหาวิทยาลัยอิสระภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งกลายเป็นเรื่องยืดเยื้อตรวจสอบยาก และเกิดความขัดแย้งภายในองค์กรตรวจสอบเอง
นายอธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง นักวิเคราะห์ข่าวประจำวอยซ์ทีวี ชี้ว่าความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารมวล. ที่สุดท้ายกลับมาเป็นความขัดแย้งภายในองค์กรตรวจสอบอย่าง สตง. เองนั้นเป็นเรื่องน่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะเป็นกรณีที่ยืดเยื้อขณะที่ตัวละครในความขัดแย้งนี้ล้วนเคยทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นมาก่อน โดยนาย พงษ์ปณต สนิท ซึ่งเพิ่งถูกนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ นั้น เคยเป็นผู้ฟ้องร้องคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา อดีตผู้ว่าการ สตง. มาก่อน
และในช่วงต้นของการตรวจสอบมหาวิทยาลัยลักษณ์นั้น ทั้งนายพิศิษฐ์ และนายพงษ์ปณต ก็ให้ข่าวและมีท่าทีไปในทางเดียวกัน
ในการถ่ายทอดสดรายการ "ใบตองแห้งออนแอร์" ผ่านเฟซบุ๊กของวอยซ์ทีวี มีแฟนเพจบางส่วนร่วมแสดงความเห็นว่า กรณีนี้ เป็นเรื่อง “มีดบาดมือตัวเอง” ขณะที่แฟนเพจอีกท่านให้ความเห็นว่า “ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน หักหลังกันเอง”
ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุป นอกจากคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้น”
ลำดับความเป็นมา กรณีม.วลัยลักษณ์ VS สตง.
พ.ศ. 2549
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดทำกรอบแนวคิดของวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ และมีโครงการก่อตั้งศูนย์การแพทย์ก่อสร้างศูนย์การแพทย์ มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท โดยกำหนดระยะการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ ระยะแรกมีมูลค่า 2,158 ล้านบาท คือการ สร้างอาคารคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง ภายในเขตมหาวิทยาลัย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
8 ต.ค. 2557
สตง. สั่งระงับการก่อสร้างระยะแรก โดยทำหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการแล้ว ให้ยุติสัญญาโครงการกับบริษัทเอกชนที่ประกวดราคาได้ จากเหตุที่สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
8 พ.ย. 2557
มวล. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และอนุมัติการลาพักปฏิบัติงานของอธิการบดีขณะนั้น (ดร. กีรัตน์ สงวนไทร) เป็นเวลา 40 วันและแต่งตั้ง ดร. สุเมธ แย้มนุ่น กรรมการสภา มวล. รักษาการแทนตั้งแต่ 10 พ.ย. 2557
17 พ.ย. 2557
ทีมอธิการบดีและรองอธิการฯ ประกาศลาออกทั้งคณะ สภามหาวิทยาลัยตั้ง เสานาธิการทหาร มทบ. 41 ดำรงตำแหน่งรองอธิการฯ ฝ่ายอาคารและสถานที่เพื่อสกัดอิทธิพล
30 เม.ย. 2558
นายอาคม จิตร์พาณิชย์ นิติกรประจำ มวล. และนายอุทัย แกล้วกล้า เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปกปิดข้อมูลอันเป็นเท็จทำให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย โดยระบุว่าการตั้งกรรมการสอบผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยนั้นเป็นการกลั่นแกล้งและบุคคลทั้งสองได้รับความเสียหาย ต้องพ้นจากตำแหนางโดยไม่ได้กระทำความผิด
3 พ.ค. 2558
นายอาคม จิตร์พาณิชย์ นิติกรประจำ มวล. และนายอุทัย แกล้วกล้าเจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป เข้าร้องเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งร้องขอให้นายกฯ ใช้ม. 44 จัดการกับสภามหาวิทยาลัย
21 ก.ย. 2558
23 2558
30 ก.ย.2558
5 ม.ค. 2559
27 ม.ค. 2559
29 ม.ค. 2559
27 พ.ย. 2559
โดยคำสั่งดังกล่าว ระบุให้ นายคณพศ สังข์ศรีอินทร์ นตง.ปก.ขึ้นตรงกับ ผตพ.14 และให้ผตพ.14 ออกคำสั่งในทางบริหารให้ เจ้าหน้าที่ในสายงานของนายพงศ์ปณต ขึ้นตรง ฟังคำสั่ง ผตพ.14 เท่านั้น ยกเว้นนายคณพศ ให้ฟังคำสั่ง ผตภ.14 และให้ ผตภ.14 ออกคำสั่งให้ นายพงศ์ปณต หยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้รายงานตัวต่อ ผตภ.14 และให้เแจ้งด้วยว่าการกระทำใดใด ที่ไม่รับรับคำสั่งจาก ผตพ.14 ถือว่า ผิดวินัยร้ายแรงขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา