ไม่พบผลการค้นหา
มูลนิธิกรีนพีซชี้ว่า บริษัทซัมซุง ควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส แสดงการเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่อุตสาหกรรมผลิตโทรศัพท์มือถือ โดยการรีไซเคิลหรือรียูสโทรศัพท์มือถือรุ่นกาแล็กซี โน้ต 7 ที่บริษัทได้ผลิตและเรียกคืนก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม หากโทรศัพท์ทั้งหมดถูกทำลาย หรือ ทิ้งให้เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์

มูลนิธิกรีนพีซชี้ว่า บริษัทซัมซุง ควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส แสดงการเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่อุตสาหกรรมผลิตโทรศัพท์มือถือ  โดยการรีไซเคิลหรือรียูสโทรศัพท์มือถือรุ่นกาแล็กซี โน้ต 7 ที่บริษัทได้ผลิตและเรียกคืนก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม หากโทรศัพท์ทั้งหมดถูกทำลาย หรือ ทิ้งให้เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์

มูลนิธีกรีนพีซกล่าวว่า ที่ผ่านมา บริษัทซัมซุงขาดความโปร่งใสในการเปิดเผยแผนการดำเนินการต่อโทรศัพท์ 4 ล้าน 3 แสนเครื่องที่ถูกเรียกคืนทั่วโลก ซึ่งจะทำให้แร่ธาตุที่มีคุณค่า ที่เป็นส่วนผสมของการผลิตโทรศัพท์  ถูกทิ้งกลายขยะไปเสียเฉยๆ 



ตามข้อมูลของสถาบัน โอโก อินสทิทูด (Oeko-Institut)สถาบันวิจัยให้คำปรึกษาและทำวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในเยอรมนี โทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั้งหมด 4 ล้าน 3 แสนเครื่อง  ประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบทางเคมีเพื่อผลิตโทรศัพท์มือถือ โดยจะมี ธาตุโคบอลท์กว่า 20 ตัน  แร่ทังสเตนกว่า 1 ตัน  แร่เงิน 1 ตัน  แร่ทอง 100 กิโลกรัม และมีแร่พัลลาเดียมกว่า 20-60 กิโลกรัม  ซึ่งธาตุโคบอลท์ เป็นส่วนผสมทางเคมีของโลหะผสมพิเศษ ที่ทนทานต่อความร้อนสูงและแข็งแรง และถูกนำมาสร้างเป็นอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ใบพัดกังหันของโรงไฟฟ้า ใบพัดในเครื่องยนต์  ด้านแร่ทังเสตน เป็นส่วนประกอบทางเคมีของการผลิตโลหะผสมเช่นเดียวกัน และ ถูกนำไปใช้ในการผลิตไส้หลอดไฟฟ้า 



ก่อนหน้านี้ ซัมซุงได้เรียกเก็บโทรศัพท์มือถือรุ่นแอนีคอล (Anycall)  มาแล้วในปี 1995 เนื่องจากมีตำหนิเพียงเล็กน้อย ก่อนเผาทำลายโทรศัพท์ทั้งหมด กว่า 150,000 เครื่อง ซึ่งกรีนพีซระบุว่า ทั้ง 2 กรณีสะท้อนความเปราะบางของกระบวนการการผลิตโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม 

กรีนพีซยังกล่าวว่า สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ให้มูลค่าสูงที่สุด หากนำมารีไซเคิล หรือ รียูส ผ่านกระบวนการเรียกเก็บ ทำลาย และจำแนกอย่างถูกวิธี  โดยชี้ว่า ปัจจุบัน ส่วนประกอบของสมาร์ทโฟนได้ถูกนำมาใช้ใหม่จริง แต่ยังคิดเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนที่เหลือถูกทิ้งให้เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog