ไม่พบผลการค้นหา
ดร.ทักษิณ ร่วมวง Clubhouse ของกลุ่ม CARE แนะแนวทางการเจรจาระหว่างประเทศที่ผู้นำควรรู้ ใช้ได้ทั้งกับเวทีต่างชาติและเวทีในประเทศ
  • 1. เล่าประสบการณ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 จี้รัฐบาลควรลงทุน

ดร.ทักษิณ เริ่มการพูดคุยโดยเล่าประสบการณ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ดูไบ ว่าที่ดูไบฉีดวัคซีนฟรีให้กับคนในประเทศ และมีวีซ่า ส่วนนักท่องเที่ยวพิจารณาเป็นบางกรณี และเท่าที่ทราบเดือน มิ.ย.นี้ เป็นช่วงโลว์ซีซั่น รัฐบาลมีนโยบายเชิญคนทั้งโลกมาเที่ยว และฉีดวัคซีนฟรี รัฐลงทุน 1,000 บาท แลกนักท่องเที่ยวมาอยู่อย่างน้อย 21 วัน

ส่วนการเลือกฉีดวัคซีน ส่วนตัวเลือกจากความปลอดภัยเป็นลำดับแรก ขณะที่ประชาชนในประเทศตื่นตัวกับการฉีวัคซีนค่อนข้างมาก เพราะมีจำนวนมากพอไม่ต้องมีจัดลำดับก่อนหรือหลัง

ทั้งนี้คิดว่า “รัฐบาลไทยควรลงทุน พอตรวจไม่ลงทุน วัคซีนก็ไม่ลงทุน ไม่รู้ลงทุนอะไร...ตั้งงบฯมาตั้งเท่าไหร่ แต่เอามาแจก คิดว่าแจกวัคซีนดีกว่า เพื่อให้เศรษฐกิจเดินได้ และนักท่องเที่ยวเข้ามา”

  • 2. หาผู้ที่พร้อมที่สุด

ดร.ทักษิณ เล่าว่า สมัยทำธุรกิจโทรคมนาคมต้องทำให้เน็ตเวิร์กครอบคลุมมากที่สุด เพราะหากใครมีมากกว่าคนนั้นชนะ แต่ส่วนตัวตังค์ไม่ค่อยมี ดังนั้นใจความหลักคือเดินทัวร์ว่าบริษัทมีกี่เจ้า เลือกเจ้าที่ดีที่สุด “จับบริษัทชนกัน” นำ 3 บริษัท มาแข่งขันกันใครทำได้มากกว่า ก็พร้อมจ่ายภายใน 6 เดือน เมื่อเน็ตเวิร์กครอบคลุมแบงก์ก็ปล่อยกู้หมด

  • 3. ต้องรู้เขารู้เรา

“ถ้าเรารู้ว่าเขาหิว เขาอยากได้ Main Course ถ้าไม่ให้เลยเขาก็ไปหาอย่างอื่น” เป็นคำที่ ดร.ทักษิณ กล่าวถึง การเจราจาธุรกิจว่า “เราต้องรู้ว่าเขาแข็งอะไร และเขาต้องการอะไร” ยกตัวอย่างมีนักลงทุนต่างชาติ ขอซื้อหุ้นสัดส่วน 10% แต่ตกลงขายให้เพียง 5% ส่วนอีก 5% ต้องไปซื้อในตลาดฯให้ครบ ซึ่งความต้องการเขายังสูง รีบไปซื้อเพราะอยากมีหุ้น 10% เขาก็ดันหุ้นขึ้น 5% หลังถ้าผมขายเผมได้เงินขึ้นเกือบ 100%

  • 4. คุยหลายเจ้า ศึกษาหลายด้าน ซื้อสโมสรฟุตบอลแมนซิตี้

ดร.ทักษิณ เล่าประสบการณ์ ซื้อสโมสรฟุตบอลแมนซิตี้ เจอสมัยนั้นทีมแมนซิตี้เตรียมตกชั้นทุกปี ราคาไม่แพง แต่ว่าสนามพึ่งสร้างใหม่ สัญญาเช่า 200 กว่าปี สิ่งนี้มองว่าน่าจะเป็นหลักทรัพย์ที่ดี ราคาที่ 23 ล้านปอนด์ วิธีการคือว่า “คุยกับหลายเจ้า” ผลสุดท้ายไปดูพื้นฐานแฟนมีมาก สนามฟุตบอลดี แค่หาซื้อโค้ชดีๆเท่านั้น

  • 5. ต้องรู้จุดถอย-จุดรุก

ช่วงเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ ดร.ทักษิณ คิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อล้างภาพเหล่านั้น เพราะหลายประเทศมองว่ามาขอกู้เงิน เป็นประเทศลูกหนี้ ซึ่งในภาคธุรกิจคนที่มีหนี้เยอะคนไม่อยากคบหา แต่สิ่งที่ ดร.ทักษิณ บอกว่า พยายามให้เห็นคือว่าเราเป็นลูกหนี้ และเราประกาศไม่กู้หนี้เพิ่ม

ยกตัวอย่างกรณีประเทศญี่ปุ่นเชิญไปพบ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามขอเงิน เราบอกเขาว่าเขาเข้าใจผิด ทั้งนี้ในช่วงเริ่มสนามบินสุวรรณภูมิได้ล้มประมูล แต่เขาขู่ว่าถ้าล้มไม่ให้กู้ เพราะบริษัทญี่ปุ่นได้ แต่เราล้มเซฟเงินได้ 16,800 ล้านบาท เราขยายจำนวนผู้โดยสาร เพิ่มเป็น 35 ล้านคน หลังเซ็นสัญญาเสร็จญี่ปุ่นกลับมาบอกขอให้กู้ ทำให้ต่อรองดอกเบี้ยลงอีก “ต้องรู้จักเล่นตัว หิวอย่าบอกหิว...เวลาเจราจาเราต้องรู้ว่าจุดถอยอยู่ตรงไหน จุดรุกอยู่ตรงไหน...อย่าพึ่งไปบอกอยากกินซาซิมิ เวลาเจราจาเราต้องรู้ว่าจุดถอยอยู่ตรงไหน จุดรุกอยู่ตรงไหน”

  • 6. แนวทางเจราจายามประเทศมีวิกฤต

ดร.ทักษิณ ยกตัวอย่างการเจรจาที่ยากที่สุดกับประเทศเมียนมา จากกรณีที่ดาราหนังพูดกระตุ้นความรู้สึกคนกัมพูชา ปลุกระดมเผาสถานฑูตไทย เจ้าหน้าที่ต้องหนี้ตาย ผมก็โทรไปหา ฮุน เซน โทรคุยกัยจะเอาอย่างไร คุณแก้ได้ไหม คุณจะแก้อย่างไร ส่วนเรื่องสถานฑูต ต้องซ่อมแซมให้เรา

สองคือคนไทยต้องปลอดภัยเรายอมไม่ได้ แต่เขาไม่มีคำตอบ ผมก็ห่วงคนไทย ผมก็กลับจากงานไปทำเนียบ เชิญผบ.เหล่าทัพประชุม ก่อนส่ง C130 พร้อมหน่วยคอนมานโด รับคนไทยกลับ ในขณะนั้นไม่ต้องห่วงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรื่องนี้ยากเพราะสนิทส่วนตัวเรื่องของประเทศต้องคุยให้ถูกต้อง ขอความเป็นมุนษย์ ในเมื่อเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ต้องช่วยเยียวยา เขาไม่มีกำลังเพียงพอดูแลคนไทย

ขณะที่เกิดวิกฤตสึนามิ ไทยประกาศชัดเจนว่าไม่ขอรับบริจาค เพราะมีเงินฝากในต่างประเทศมีมากกว่าเงินกู้จากต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเราเป็นประเทศที่ผู้ให้กู้แล้ว แล้วจะขอรับบริจาคเขาไม่เท่ เอาเท่ไว้ก่อน เผื่อให้คนเคารพ ผมไม่อยากเป็นขอทานสากล ลำคัญผู้นำบางประเทศที่พูดเป็นแค่ขอรับบริจาค โชว์ความภูมิใจ เราเป็นประเทสผู้ให้กู้แล้วจะไปขอ เศรษฐีขอตังค์ชาวบ้านเขาไม่เท่เลย

  • 8. ฑูตต้องทำงานเป็นหัวหน้าทีม ต้องเข้าใจ ทำงานร่วมกัน

ดร.ทักษิณ บอกว่า ทีมไทยแลนด์ในต่างประเทศ หรือสถานฑูตไทย ต้องมีบทบาทในแง่ส่งเสริมการค้า ต้องไว้ช่วยเหลือคนไทยต่างแดน เอาไว้ขยายช่องทางตลาดการท่องเที่ยวและสินค้าส่งออก “ฑูตต้องทำงานเป็นหัวหน้าทีม ต้องเข้าใจ ทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ หรือกินเบี้ยเลี้ยงใครมันแบบไร้สาระ”

  • 9. สินค้าแลกสินค้า

ดร.ทักษิณ เล่าว่า ในช่วงที่ประเทศผลิตเครื่องบิน ทั้งสวีเดน รัสเซีย รวมถึงสหรัฐฯ มาเสนอขายเครื่องบินให้ไทย แต่ไทยในขณะนั้นมีปัญหาขยายตลาดไก่ จึงขอเอาไก่แลก เพราะตอนนั้นไม่ได้อยากซื้ออาวุธ แต่ก็ไม่ได้เดินต่อ เพราะผมโดนปฎิวัติก่อน ไม่รู้ว่าผมโดนปฏิวัติเพราะไม่มีค่าคอมมิชชั่นหรือเปล่า ซึ่งถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้มีพันธบัตรในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน สามารถให้สินค้าแลกสินค้า

  • 10. ให้ใช้ความเป็นมนุษย์คุยกัน

หนึ่งในบทบาทการเจรจาระหว่างประเทศที่สำคัญ ดร.ทักษิณ ระบุว่า คือความสนิทสนมกับผู้นำต่างประเทศ  ต้องอาศัยคุยกับผู้นำประเทศ เรียนรู้จากเขา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน...คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเราต้องรู้จักให้เกียรติ ต้องพยายามสร้าง personal relationship เพื่อให้พูดคุยกันได้ง่าย “ต้องเอาความเป็นมนุษย์คุยกัน เพราะถ้าเอาตำแหน่งคุยกันมันกระด้าง”

  • 11.จุดยืน กรณีสหรัฐฯกับจีน และเมียนมา

ดร.ทักษิณ ตอบคำถามว่าจุดยืนของไทยกรณีที่เกิดความขัดแย้งทั้งสหรัฐฯกับจีน และสถานการณ์ในเมียนมา ว่า สหรัฐฯ-จีน เรารู้จักการประณีประนอมทั้งสองฝ่าย...ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต้องคบทั้งสองฝ่าย เพราะเรายังต้องค้าขายอยู่ ต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ เราต้องไม่ไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง

ส่วนสถานการณ์ในเมียนมา ตอนสมัยเป็นนายกฯ มีการทำงานร่วมกันเยอะ เราเป็นคนผลักดันให้เขาร่างรัฐธรรมนูญ แน่นอนเขากลัวว่าคนพวกนี้จะถูกเช็กบิลสืบทอดอำนาจ จึงทำอย่างปัจจุบันเหมือนรัฐบาลไทย สิ่งสำคัญสุด จุดยืน “ประชาชนทุกประเทศต้องได้รับการปฎิบัติที่ถูกต้อง โดยเฉพาะ ฮิวแมนไรท์ (Human Rights) การชุมนุมอย่างสันติ”

  • 12. อย่าเป็นประเทศหลังเขา

ดร.ทักษิณ กล่าวถึงกรณี ที่มีการละเมิดสิทธิในเรือนจำของแกนนำราษฎร ว่าการตรวจโควิด-19 ตอนเที่ยงคืนเป็นเรื่องผิดปกติ ข้อที่สอง คือ สากลเขาใช้ระบบปฏิบัติพยามทั้งสองฝ่ายต้องมาต่อสู่กันหน้าศาล จนกว่าจะรู้ว่าเป็นผู้กระทำความผิด แต่หลัง “หลังจากมีอำนาจเผด็จการ เรากำลังเริ่มหันตัวเองเป็นระบบกล่าวหา ปรักปรำ คือ สันิษฐานว่าเป็นผิดก่อนที่จะพิสูจน์ว่าผิด สากลเขาไม่รับ ใครจะเชื่อถือ ใครจะมาลงทุน นอกจากตีหัวเข้าบ้าน” เราต้องคิดระยะยาว ต้องคิดว่ามีกติสาสากล เป็นประเทศศิวิไล ไม่ใชประเทศหลังเขาเขาควรได้รับการปฎิบัติที่ดีกว่านี้

  • 13. แนวทางส่งออกวัฒนธรรมไทย ไปสู่สากล

ดร.ทักษิณ พูดถึง การส่งออกวัฒนธรรมไทย ว่า สิ่งที่วันนั้นที่ผมคิดว่า คิดเร็วๆคือร้านอาหารไทย ในซิดนี่ย์ เกือบร้อยเป็นของเวียดนาม ถ้าเราเป็นร้านอาหารไทยแท้ เราจะส่งออกวัฒธรรมไทยได้ วันนั้นผมอยากทำครัวไทยสู่ครัวโลก ทำไมจะทำไม่ได้เหมือนแมคโดนัลด์ เรื่องที่สองอยากจะทำ อยากจะตั้งศูนย์สินค้าไทยในเมืองใหญ่ ลักษณะเป็นศูนย์โฮลเซลที่ ปารีส ลอนดอน นิวยอร์ก วันนี้เราต้องเชิกรุกได้แล้ว เรามีของดีเยอะ เรามีศักยภาพเยอะ “เราตั้งรับ เรารุกไม่เป็น เราบริหารค่าใช้จ่ายเก่ง แต่บริหารรายได้ไม่เป็น”

  • 14. เจรจาระหว่างประเทศยาก เหตุตั้งบนฐานเศรษฐกิจทุนนิยม

ดร.ทักษิณ ระบุว่า การเจราระจาระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ยากเป็นพิเศษ เพราะ “ทุกประเทศทั่วโลกอยู่บนเศรษฐกิจทุนนิยม ผลประโยชน์มาก่อน เวลาพูดพูดเท่หล่อทุกคน แต่เวลาเจราจาแล้วเขาได้อะไร แล้วเรามีอะไรไปแลกทตรงนั้นจะเป็นคีย์”

ยกตัวอย่างที่ไทยโดนเรื่องกุ้ง มีสารตกค้าง ก่อนเจอผมพูดก่อนให้สัมภาษณก่อนว่าเรามั่นใจว่าไม่มีสารตกค้าง แต่เราก็ไม่มั่นใจว่ารถบีเอ็มฯมีสนิทตกค้างหรือเปล่า เราขอเวลาตรวจสอบ ราคาเขาแพงกว่า ถ้าเราบอกว่ายังไม่ให้เข้า ต้องมีวิธีการแลกกัน เรายอมเขาหมดก็ลำบาก เราต้องสำรวจของเราก่อน ถ้าไปทะเลาะเขาแต่ของเราไม่ดี ความน่าเชื่อถือจะไม่มี

  • 15. วิธีการรับมือสื่อ

ดร.ทักษิณ ยอมรับว่า การรับมือสื่อของผู้นำบางครั้งมีหลุดบ้าง เพราะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง บางทีมีแรงกดดันมาก นานๆหลุดบ้างไม่เป็นไร แต่หลุดบ่อยไม่ค่อยดี และไม่ใช่ดุกันตลอดเวลา ซึ่งสมัยที่ตนอยู่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย สามารถควบคุมตนเองได้ดี แต่ “ลักษณะของรัฐบาลนี้ติดกระดุมเม็ดแรกผิด รัฐบาลชุดนี้ดุนักข่าวตลอด เริ่มมาก็ดุ ยังไม่เห็นมีใครพูดดีๆ เลียนแบบกัน ขนาดมาจากการเลือกตั้งยังดุ ต้องถ้อยทีถ้ออยอาศัย”

  • 16. อีอีซีไม่เกิดประโยชน์ เหตุโลกเปลี่ยนไปเยอะ ซ้ำไทยไม่มีความพร้อมรองรับ

ดร.ทักษิณ ตอบคำถามถึงความจำเป็นของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ว่า ไม่น่าจะช่วยอะไรได้มาก คนที่มองเห็นอิสเทิร์นซีบอร์ดปรับมาเป็นอีอีซี โดยเข้าใจว่าจะดึงดูดบริษัทต่างชาติมาลงทุน แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไปคนละเรื่อง เพราะวันนี้ผลิตที่ไหนเขาก็ใช้หุ่นยนต์ ไม่ได้อาศัยแรงงาน ถ้ามาไทย เราผลิตบุคคลกรด้านนี้รองรับเขาหรือยัง น้อยมาก ซึ่งมองว่าสิ่งที่อีอีซีจะเกินขึ้นน่าจะเป็นการพัฒนาเมืองตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากกว่า 

  • 17. รัฐบาลต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว

ดร.ทักษิณ ระบุว่า ถ้ายังเป็นแบบนี้เศรษฐกิจอยู่จะตกต่ำ จะเป็นวัคซีนพาสปอร์ต หรือตรวจคนเข้ามาต้องทำ เรื่องกักตัวน่าจะใช้เฉพาะบางประเทศที่เป็น Red Zoon เพราะไม่เช่นนั้นการบิน โรงแรม เจ๊งหมด เพราะไทยหากินทางด้านท่องเที่ยว คนลงทุนไปมาก แต่รัฐบาลไม่ค่อยเข้าใจ อย่างการตัดสินใจเรื่องโควิด ควรมีนักวิทยาศาสตร์มาร่วมกันคิดกับหมอไม่ใช่แค่หมออย่างเดียว ไม่งั้นอุตสาหกรรมการการบิน ท่องเที่ยว สิ้นปีนี้รับรองเจ๊งหมด

  • 18. บทบาทของไทยในการผลักดันอาเซียน

วันนี้เราคงคิดจะนำลำบาก เพราะทุกคนรู้ว่าเราไม่เป็นประชาธิปไตย เรายังมี สว.250 เสียง แบบสับถั่ว ถ้าวันนี้ “หากเราจะเป็นผู้นำประเทศอาเซียนเราจะต้องเป็นประชาธิปไตยและยึดหลักสากลกว่านี้...การจะเป็นผู้นำอาเซียนต้องได้รับการนับถือ ทั้งในเชิงปฎิบัติสากล และผู้นำเศรษฐกิจ”  

ดร.ทักษิณ ระบุว่า ตนโชคดีที่มีรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้ผมมีหน้ามีตายืนเชิด วันนี้สมมติให้ผมเป็นนายกฯ ผมไม่ได้คิดจะเป็นนะ ผมก็คงคุยกับคนยาก ถ้าเขาถามว่า 250 มาอย่างไร ผมตอบไม่ได้ ในวันนี้ต่างคนต่างมีปัญหาของตัวเองไม่มีใครกล้าเป็นผู้นำ หรือกล้าเสนอ เราต้องกล้าเป็นความร่วมมมือ มีอะไรไปแชร์ร่วมกับเขา

  • 19. ต้องมีใจเจราจา อย่าตั้งแง่ใส่กัน

การเจราจาถ้าจะตั้งแง่ใส่กันก็ยาก ถ้าบอกว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน ควรเจรจานอกรอบกันก่อนก็ได้ ร้องเพลงก็สำคัญ คุยอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ ดูแล้วยังตั้งแง่ใส่กันอยู่ ปรากฎว่าวันนี้ยังมีการยุแย่กันเหมือนเดิม สมมติเป็นร่างกาย มือซ้ายยกมือขวาไม่เอาด้วยก็ไปด้วยกันยาก

  • 20. ภาษาอังกฤษกับบทบาทผู้นำประเทศ

ดร.ทักษิณ ระบุว่า ผู้นำไม่จำเป็นจะต้องเก่งภาษาอังกฤษ แต่จะต้อง เพราะผู้นำหลายประเทศก็ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ แต่ท่านต้องมีคนคอยแปล คือ “ภาษาอังกฤษพูดไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ควรเป็นปมด้อย หาล่ามเก่งๆ คอยกระซิบได้...ต้องมีความมั่นใจสารัตถะของเนื้อหานั้น”