ศาลปกครองกลาง พิพากษายกฟ้อง ในคดีที่ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาลเมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อครั้งเป็น หัวหน้า คสช. ฐานละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย
คดีนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถูกคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2562 โอนตำแหน่ง จากผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ทำหนังสือทำถึงนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ขอให้ทบทวนคำสั่งดังกล่าว แต่กลับไม่มีการพิจารณา
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอเรื่องที่พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ขอให้ทบทวน เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2563 ให้นายกรัฐมนตรี พิจารณา จึงถือว่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
ส่วนกรณีของนายกรัฐมนตรีนั้น พบว่า ได้รับหนังสือ ที่ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ขอให้ทบทวนแล้ว แต่นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีคำสั่งว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีจึงถือว่านายกรัฐมนตรี ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีด้วย
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 ถึง นายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาสั่งให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กลับไปปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วได้มีคำสั่ง เห็นชอบตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และต่อมา พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้โอนกลับไปรับราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 9) ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่าตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงหมดสิ้นไป
ส่วนประเด็นที่นายกรัฐมนตรี ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรในการไม่ทบทวนคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามที่พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ร้องขอนั้น เห็นว่า หัวหน้า คสช. ได้อาศัยอำนาจตามข้อ 5 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 ในการออกคำสั่งโอนย้าย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสช. เป็นคำสั่งที่อาศัย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ดังนั้น คำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว จึงมิใช่คำสั่งทางปกครอง นายกรัฐมนตรีจึงไม่มี อำนาจในการพิจารณาทบทวนคำสั่ง ดังนั้นนายกรัฐมนตรี จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดจึงพิพากษายกฟ้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :