ไม่พบผลการค้นหา
หลายปีที่ผ่านมา เราได้ยินคำว่า Rape Culture หรือวัฒนธรรมการข่มขืนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสังคมไทย สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร ไ

หลายปีที่ผ่านมา เราได้ยินคำว่า Rape Culture หรือวัฒนธรรมการข่มขืนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสังคมไทย สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร 
    
"เราไม่รู้จักกัน แต่เธออยู่บนเรือนร่างของฉัน " เป็นข้อความในจดหมายที่เขียนโดยเหยื่อ ที่ถูกนักศึกษา อายุเพียง 21 ปี ของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดในสหรัฐฯข่มขืน ขณะเมาไม่ได้สติเมื่อปีที่ผ่านมา และกำลังถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้ทั่วโลก หยิบยกวัฒนธรรมการข่มขืน หรือ เรพ คัลเจอร์ (Rape Culture) มาพูดถึงอีกครั้ง 
         
ลักขณามองว่า การข่มขืน มาจากอคติทางเพศ ที่เกิดจากระบบปิตาธิปไตย หรือสังคมชายเป็นใหญ่ ที่มองว่าผู้หญิงต่ำต้อยกว่าเพศชาย ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเพศขึ้น ส่วนที่การข่มขืนเกิดในประเทศไทยบ่อยครั้ง จัสมิน เชีย นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด เจ้าของบทความเรื่อง"คำโกหกที่มีอภิสิทธิ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย" (The Privileged Lie of Gender Equality in Thailand) ที่ถูกแชร์อย่างมากในโลกออนไลน์ มองว่า  ผู้หญิงไทยถูกทำให้มีสถานะด้อยกว่าเพศชาย จากหลายปัจจัย เช่น นโยบายรัฐ หรือการขัดเกลาทางสังคม
    
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติการเห็นเพศหญิงเป็นเพศวัตถุ ไม่ได้เกิดจากผู้ชายอย่างเดียวเ���่านั้น แต่ผู้หญิงก็เช่นกัน เช่นในสื่อ หรืองานต่างๆที่เห็นในปัจจุบัน ผู้หญิงหลายคนนุ่งน้อยห่มน้อย โชว์เรือนร่างด้วยความสมัครใจ เพราะเห็นว่านำมาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ

หากมองในแง่ของเศรษฐกิจ การที่ผู้หญิงขายเรือนร่างของตัวเองเป็นเพศวัตถุ อาจแก้ได้ด้วยปัญหาสร้างทางเลือกให้ผู้หญิงทุกชนชั้น โดยการเพิ่มการเข้าถึงโอกาสทางสังคม เช่น การศึกษา ให้มากขึ้น ขณะที่การสร้างอำนาจให้ผู้หญิง เช่น การส่งเสริมให้ผู้หญิงดำรงตำแหน่งระดับสูงในบริษัท หรือมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายในสภา อาจทำให้ผู้หญิงในสังคมไทย ได้รับการปกป้อง และมีอำนาจต่อรองในสังคมมากขึ้นกว่าที่เป็น

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog