ไม่พบผลการค้นหา
วันนี้ (24 เม.ย.55) เมื่อเวลา11.00 น. ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กว่า 60 คน รวมตัวกันหน้าบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี

วันนี้ (24 เม.ย. 55) เมื่อเวลา11.00 น. ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กว่า 60 คน รวมตัวกันหน้าบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี

 

ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากที่มีการดำเนินการจัดสร้างโดยไม่ได้ผ่านมติคณะมนตรีแม่น้ำโขง 4 ประเทศ ซึ่งวันนี้มีการเรียกร้องใหยุติการดำเนินการก่อสร้างและเรียกร้องให้ประชาคม อาเซียนให้ความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วย

 

เครือข่ายภาค ประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง  ประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บังกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมตัวกว่า60 คนมายื่นหนังสือคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยุบรีกับบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หลังจากที่เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงพบความเคลื่อนไหวในการเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีใน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นการดำเนินการละเมิดมติคณะมนตรีแม่น้ำโขง 4 ประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม ไทย และกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 โดยมีมติให้ทำการศึกษาเพื่อหาผลกระทบจากเขื่อนบนน้ำโขงอย่างรอบด้านใหม่ และยังไม่มีการให้ฉันทามติต่อการสร้างเขื่อนไซยะบุรีแต่อย่างใด แต่การดำเนินงานของบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) ในประเทศลาว ถือว่าเป็นการฝ่าฝืน

 

ส่วนข้อเรียกร้องของเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัด  คือให้บริษัท ช.การช่าง หยุดโครงการการสร้างเขื่อนไซยะบุรีทันทีจนกว่าจะได้รับฉันทามติจากประเทศ สมาชิกเอ็มอาร์ซี 4ประเทศ เรียกร้องให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือกฟผ.ระงับสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี เรียกร้องให้ธนาคารทั้ง 4 แห่งที่ปล่อยเงินกู้ให้บริษัทช.การช่าง หยุดสนับสนับการลงทุน และเรียกร้องให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบบริษัทที่จดทะเบียน ต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล ตามหลักสากล

 

นอกจากนี้เครือข่าย ภาคประชาชน 8 จังหวัด ย้ำว่า การสร้างเขื่อนไซยะบุรี เป็นการทำลายร้ายแรงต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำโขง ทำให้เกิดการอพยพสายพันธุ์ปลาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นรายได้หลักของประชาชน 2 ฝั่งลุ่มน้ำโขง ส่งผลให้เกิดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นประชาชนริมน้ำโขงของ4 ประเทศกว่า 60 ล้านคน ทั้งนี้จึงทำพิธีกรรมสืบต่อชะตาสายพันธุ์ปลาเศรษฐกิจในลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยบุรี พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้นำประชาอาเซียนเข้ามามีบทบาทในการทำงานรักษา ทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมาประชาคมอาเซียนให้น้ำหนักทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจมากเกินไป

 

ทั้งนี้ ทางเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงจะมีการขับเคลื่อนคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ด้วยการไปยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือเอ็มอาร์ซี ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ที่จังหวัดภูเก็ต และหากทั้งภาครัฐรวมถึงบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน)ไม่ยุติการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี จะทำการชุมนุมปิดสะพานมิตรภาพไทยลาวอีกครั้งหนึ่ง

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog