นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบคุณสมบัติแบคทีเรียใน "อุจจาระ" ที่สามารถแปลงของเสียเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
นักวิทยาศาสตร์หลายคนทราบดีว่า ในอุจจาระอุดมไปด้วยพลังงานมากมาย เช่น มูลของวัวที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอินเดียได้นับทศวรรษ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรุงอาหาร และ สร้างความอบอุ่นให้บ้านเรือนด้วย
จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า น้ำเสียที่ไกลลงสู่ท่อระบายน้ำทุกวันๆ แล้วส่งต่อไปยังกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และ พลังงานไฟฟ้ามหาศาลถูกใช้ไปในกระบวนการเหล่านี้ ทำไมเราสามารถแปลงน้ำเสียเหล่านั้น ให้กลายเป็นพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานไฟฟ้า บ้างไม่ได้
งานวิจัยล่าสุดของ 2 นักวิทยาศาสตร์จากเวอร์จิเนียเทค ที่ตีพิมพ์บน Scientific Reports ระบุว่า พวกเขาค้นพบแบคทีเรียบางตัวที่พบในอุจจาระ สามารถแปลงของเสียให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยแบคทีเรียจะทำปฏิกริยากับออกซิเจนในน้ำเสีย เกิดเป็น ไบโอแก๊ส ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้กระบวนการบำบัดน้ำเสีย แทบไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก แต่อาศัยไฟฟ้าที่ได้จากน้ำเสียเอง
หลังจากถอดบทเรียนได้ พวกเขาจึงต่อยอดด้วยการศึกษาคุณสมบัติของแบคทีเรียดังกล่าว แล้วสังเคราะห์สารที่ชื่อ microbial fuel cells ซึ่งอาจเป็นก้าวต่อไปของกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากอุจจาระ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยพลังงานไฟฟ้ามหาศาล