โรคจิตติดมือถือ หรือ โรคโนโมโฟเบีย (nomophobia) มาจากคำว่า “no mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่ํ You Gov บัญญัติขึ้นเพื่อเรียกอาการติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนัก
ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น จะมีอาการหงุดหงิดง่าย ตัวสั่น เหงื่อออก เมื่อมือถือหาย ไม่มีสัญญาณ หรือว่าแบตหมด
อาการที่เข้าข่ายว่าเป็นโรค Nomophobia
• ไม่เคยอยู่ห่าง มือถือเลย ไม่งั้นจะหงุดหงิดทันที
• เมื่อได้ยินเสียงแจ้งเตือน จะทิ้งทุกอย่างทันที เพื่อหยิบโทรศัพท์มือถือมาดู
• เช็คโทรศัพท์มือถือทั้งวัน อัพเดทเรื่องราวบน Social Media ตลอดเวลา
• หลังจากตื่นนอนจะกดโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับแรก
• จะรู้สึกกระวนกระวายใจมากถ้าหาโทรศัพท์ไม่เจอ
• ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
• สนใจแต่หน้าจอโทรศัพท์ จนไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
โรคโนโมโฟเบีย อาจทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา
• นิ้วล็อก
• สายตาล้า
• โรคอ้วน
• ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่
• หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัย
วิธีการแก้ไขจากโรคโนโมโฟเบีย
• ใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น
• ชวนเพื่อนออกไปทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงความเหงาที่อาจทำให้เราโหยหาโทรศัพท์มือถือ
• หากรู้สึกว่าอาการหนัก จนไม่สามารถอยู่ห่างโทรศัพท์มือถือได้เลย ให้รีบไปพบจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยด่วน
ปัญหาเหล่านี้ดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้าปล่อยไว้อาจมีอันตรายถึงชีวิต รีบเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและคนรอบข้าง