ไม่พบผลการค้นหา
International Policy Digest วิเคราะห์ ไทยเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ที่ต้องรักษาด้วย 'ยาจีน' ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงแสนแพง

International Policy Digest วิเคราะห์ ไทยเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ที่ต้องรักษาด้วย 'ยาจีน' ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงแสนแพง
    
International Policy Digest เว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศและการเมืองของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความที่ระบุว่าไทยเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย โดยเปรียบเทียบกับการที่ซาร์นิโคลัสแห่งรัสเซียเคยกล่าวไว้ในปี 1853 ว่าตุรกีเป็น "ชายผู้ป่วยไข้แห่งยุโรป" แต่แม้ว่าซาร์นิโคลัสจะทำนายอาการป่วยของตุรกีได้ถูกต้อง แต่ตุรกีก็ใช้เวลาอีกถึง 70 ปีหลังจากคำเตือนนั้น ก่อนจะพ่ายแพ้ต่ออาการเจ็บป่วย เกิดการปฏิวัติประชาชนขึ้น คำถามก็คือ ไทยจะใช้เวลานานขนาดนั้นหรือไม่ รัฐบาลทหารจะสามารถลากประเทศที่ป่วยไข้ไปได้นานเช่นนั้นหรือ?

International Policy Digest มองว่า แม้โลกยุคปัจจุบันจะหมุนไปไวกว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่ในไทยโลกดูจะไม่หมุนไปเร็วเท่าที่อื่นๆ รัฐบาลไทยในปัจจุบันพอใจที่จะหมุนเวลากลับไปในศตวรรษที่ 19 ทั้งที่ในทุกๆผลสำรวจที่สามารถตรวจวัดความป่วยไข้ของรัฐบาลไทยได้ ก็ผลออกมาตรงกันทั้งสิ้นว่าความเจ็บป่วยนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการปราบการทุจริตคอรัปชั่น ที่ดูแล้วเป็นการกำจัดศัตรูทางการเมืองและผู้ที่ต่อต้านตนเอง มากกว่าจะกำจัดคนโกงจริงๆ เพราะคนที่โกงจริงๆส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งของรัฐบาลนั่นเอง การปราบทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังจึงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้

การเยียวยาไทยที่ป่วยไข้ จำเป็นต้องใช้ยา และยาขนานเดียวที่ไทยรับตอนนี้ ก็คือ "ยาจีน" ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาจับจ่ายใช้สอย หรือเมกะโปรเจ็คโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทางรถไฟ แถมจีนและไทยยังช่วยกันปราบปรามผู้เห็นต่าง วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลด้วย ถือเป็นยาที่ไทยมองวาดีกว่ายาขม "ประชาธิปไตย" ที่ชาติตะวันตกพยายามป้อนให้ และยาจีนยังเข้ากันได้ดีกับ "ความเป็นไทย"

อย่างไรก็ตาม International Policy Digest เตือนว่า เมื่อหมอจีนเรียกเก็บบิล ไทยอาจจะตระหนักเมื่อสายเกินไปว่าค่ายาแพงเหลือเกิน เช่นการต้องซื้อเรือดำน้ำจีนในราคาแพง และอาการป่วยก็ไม่ได้หาย แต่จะเป็นเท่าเดิมในอาหารที่แตกต่างออกไป ถามว่าคนป่วยรายนี้จะหายหรือไม่ เป็นเรื่องที่เวลาเท่านั้นจะตอบได้ แต่อย่างน้อย เมียนมาร์ เพื่อนบ้านของไทยซึ่งป่วยมานานกว่ามาก กำลังดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog