คณะนิติราษฎร เผยแพร่ข้อเสนอ เพื่อการรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ ก่อนขอรายชื่อสนับสนุนข้อเสอชนอดังกล่าว เพื่อเสนอต่อรัฐบาลในกลางเดือนมกราคมปีหน้า
เว็บไซต์คณะนิติราษฎร์นิติศาสตร์เพื่อราษฎร เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อการรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวม 7ประเด็น ดังนี้
1. เสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากมาตรานี้ บัญญัติโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เป็น “กฎหมาย” ของคณะรัฐประหาร จึงขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และเมื่อมีการยกเลิก ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ให้บัญญัติขึ้นใหม่ แต่เป็นไปในลักษณะความผิด เกี่ยวกับเกียรติยศและชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2 เสนอให้เพิ่มเติมลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และ เกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และแยกเป็นฐานความผิด 4 เรื่อง ความผิดฐานหมิ่นประมาท และฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ความผิดฐานหมิ่นประมาท และความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท และผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
3 . คณะนิติราษฎร์เสนอให้แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ออกจากการคุ้มครองสำาหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งแยกการคุ้มครองในมาตราต่าง ๆ
4. เสนอว่าไม่ควรมีอัตราโทษขั้นต่ำ ส่วนอัตราโทษขั้นสูง ในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ กำหนดให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ ให้ลดอัตราโทษขั้นสูงเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี สำาหรับความ และกำาหนดโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
สำหรับความผิดต่อตำแหน่ง พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีหมิ่นประมาท มีอัตราโทษขั้นสูง เป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 3หมื่นบาทขณะที่กรณีดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระ มีโทษขั้นสูงเป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกินหนึ่ง 1 บาท
โดยคณะนิติราษฎร์ ชี้แจงเหตุผลว่า ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังไม่มีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงยิ่งไม่ควรมีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ ในความผิดฐานดังกล่าว
นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้ศาล ใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุกน้อยเพียงใดก็ได้ตามควรแก่กรณี และ ในกรณีที่ศาลเห็นว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด แต่ไม่ถึงขั้นจำคุก ศาลอาจใช้ดุลพินิจให้ลงโทษปรับ เพียงอย่างเดียวก็ได้
อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้สมแก่สถานะแห่งตำแหน่ง จึงกำหนดให้มีอัตราโทษขั้นสูง ที่สูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดา และเหตุที่พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ซึ่งมีสถานะแตกต่างจากพระราชินี รัชทายาท และผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ จึงกำหนดอัตราโทษให้แตกต่างกัน
นอกจากนี้ การกระทำความผิดและความเสียหายที่เกิดขึ้น จากหมิ่นประมาท แตกต่างจากการดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย จึงสมควรแยกการกระทำความผิดทั้งสองลักษณะออกจากกัน และกำาหนดอัตราโทษให้แตกต่างกัน
ส่วนประเด็นที่ 5 เรื่องการยกเว้นความผิด ให้กับ “ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 45 รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมาตรา 50 รับรองเสรีภาพในทางวิชาการ ดังนั้น การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อการดังกล่าว จึงไม่สมควรเป็นความผิดทางอาญา
ประเด็นที่ 6 เรื่องการยกเว้นโทษ หากผู้ถูกกล่าวหา พิสูจน์ได้ว่า ข้อความนั้นเป็นความจริง จะไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามไม่ให้พิสูจน์
และประเด็นสุดท้าย คือเรื่องผู้มีอำนาจกล่าวโทษ เสนอห้ามบุคคลทั่วไปเป็นผู้กล่าวโทษ แต่ให้สำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้กล่าวโทษแทน เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลทั่วไปนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือในทางไม่สุจริต
ทั้งนี้ ในวันที่ 15 มกราคมนี้ คณะนิติราษฎร์ จะมีการเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ม. 112 และรวบรวมรายชื่อบุคคลเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และในวันที่ 22 มกราคม ที่ครบรอบ 100 ปี คณะ ร.ศ. 130 และ 80 ปีการอภิวัตน์ 24 มิถุนายน 2475 จะมีการจัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
Produced by VoiceTV