ไม่พบผลการค้นหา
คณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า แนวคิดของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ที่จะให้โรงเรียนนำร่อง 3,800 แห่งในสังกัดสพฐ. เลิกเรียนในเวลา 14.00 น. เป็นนิมิตรหมายที่ดี เพราะมองว่าเป็นการให้โอกาสโรงเรียนออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม

 คณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า แนวคิดของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ที่จะให้โรงเรียนนำร่อง 3,800 แห่งในสังกัดสพฐ. เลิกเรียนในเวลา 14.00 น.  เป็นนิมิตรหมายที่ดี  เพราะมองว่าเป็นการให้โอกาสโรงเรียนออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรถพล อนันตวรสกุล คณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า แนวคิดของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ที่จะให้โรงเรียนนำร่อง 3,800 แห่งในสังกัดสพฐ. เลิกเรียนในเวลา 14 นาฬิกา เป็นนิมิตรหมายที่ดี  เพราะมองว่าเป็นการให้โอกาสโรงเรียนออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม ที่สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนมากขึ้น 

ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ควรมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วย เช่น การสร้างพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ ห้องสมุด หรือ พิพิธภัณฑ์ ให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์หลังเวลาเรียนหลัก

นอกจากนี้ นักวิชาการด้านการศึกษา บอกด้วยว่า ผลการวิจัยหลายฉบับระบุตรงกันว่า จำนวนชั่วโมงเรียนไม่สัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษาเสมอไป  เช่น จำนวนชั่วโมงเรียนในต่างประเทศ ที่น้อยกว่าประเทศไทย แต่คุณภาพการศึกษาดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นโอกาสในการปรับหลักสูตรการศึกษาครั้งใหญ่

    
เพจเฟซบุ๊ก ประเทศไทยอยู่ตรงไหน เคยนำเสนอสถิติจำนวนชั่วโมงเรียนของเด็กอายุ 11 ปีทั่วโลก ที่รวมโดย UNESCO เมื่อปี 2012 พบว่า  เด็กไทยใช้เวลาในห้องเรียนมากที่สุดถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ตามมาด้วยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก  ในขณะประเทศญี่ปุ่น อยู่ในอันดับที่ 30  คือเรียนปีละ 761 ชั่วโมงต่อปี   ส่วนฟินแลนด์ ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก เรียนปีละ 713 ชั่วโมง อยู่ในลำดับที่ 36 

อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรถพล เสนอว่า กระทรวงศึกษาธิการควรประเมินผลโครงการนำร่อง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษามากที่สุดด้วย  และที่สำคัญคือควรสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เพราะก่อนหน้านี้ ครูมีบทบาทเป็นเพียงผู้ต้องรับในเชิงนโยบาย ทั้งที่ความจริงครูเป็นกลไลใกล้ชิดกับผู้เรียน และเข้าใจระบบการศึกษามากที่สุดถึงในระดับห้องเรียน
     

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog